รับทำบัญชี(Bookkeeping Service)
รู้เรื่องบัญชี ก่อนตัดสินใจ ทำบัญชีกับเรา
“ทำบัญชี” ไม่รู้ไม่ได้แล้ว
ทุกคนตระหนักถึงความสำคัญที่ต้อง ทำบัญชีอย่างไรให้ถูกต้องให้สามารถบ่งชี้ถึงผลประกอบการของกิจการได้ว่ากิจการมีกำไร หรือขาดทุน ไม่เว้นแม้แต่ระดับครัวเรือนที่ต้องทำบัญชีตามแนวคิดของปรัชญาเศษฐกิจพอเพียง
บริษัท ปิติภูมิ การบัญชี จำกัด ยินดีให้บริการ “ทำบัญชี” มาเรียนรู้กัน หากท่านต้องทำบัญชีกับเราแล้ว ท่านจะได้รับบริการอะไรจากเราบ้าง
ตามพระราชบัญญัติวิชาชีพบัญชี พ.ศ.2547 (ออกใช้แทน พระราชบัญญัติ ผู้สอบบัญชี พ.ศ. 2505)
“วิชาชีพบัญชี” หมายความว่า วิชาชีพในด้านการทำบัญชี ด้านการสอบบัญชี ด้านการบัญชีบริหาร ด้านการวางระบบบัญชี ด้านการบัญชีภาษีอากร ด้านการศึกษาและเทคโนโลยีการบัญชี และบริการเกี่ยวกับการบัญชีด้านอื่นตามที่กำหนดโดยกฎกระทรวง
- มาตรา 37 ในกรณีที่มีกฎหมายบัญญัติให้มีการสอบบัญชี หรือให้เอกสารใดต้องมีผู้สอบบัญชีลงลายมือชื่อรับรองหรือแสดงความเห็น ห้ามมิให้ผู้ใด ลงลายมือชื่อรับรองการสอบบัญชี รับรองเอกสาร หรือแสดงความเห็นในฐานะผู้สอบบัญชี เว้นแต่เป็นผู้สอบบัญชีรับอนุญาต หรือเป็นการกระทำในอำนาจหน้าที่ทางราชการ
- มาตรา 38 ผู้ใดจะเป็นผู้สอบบัญชีรับอนุญาตต้องได้รับใบอนุญาตจากสภาวิชาชีพบัญชี การขอรับใบอนุญาต การอนุญาต และการออกใบอนุญาต เป็นผู้สอบบัญชีรับอนุญาตให้เป็นไปตามแบบและหลักเกณฑ์ที่กำหนดในข้อบังคับสภาวิชาชีพบัญชี เมื่อได้รับใบอนุญาตแล้วและใบอนุญาตนั้นมิได้ถูกพักใช้ หรือถูกเพิกถอนให้ผู้สอบบัญชีรับอนุญาตได้รับยกเว้นไม่ต้องขออนุญาตต่ออธิบดี กรมสรรพกรในการตรวจสอบ และรับรองบัญชีตาม ประมวลรัษฎากร
- มาตรา 39 ผู้ขอรับใบอนุญาตเป็นผู้สอบบัญชีรับอนุญาตต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้าม
“ผู้ทำบัญชี” หมายความว่า ผู้ทำบัญชีตามกฎหมายว่าด้วยการบัญชี
- มาตรา 44 ห้ามมิให้ผู้ใดประกอบวิชาชีพเป็นผู้ทำบัญชี เว้นแต่เป็นสมาชิกสภาวิชาชีพบัญชีหรือขึ้นทะเบียนไว้กับสภาวิชาชีพบัญชี หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการขึ้นทะเบียนตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามข้อบังคับสภาวิชาชีพบัญชี
- มาตรา 45 ผู้ทำบัญชีที่จะขึ้นทะเบียนกับสภาวิชาชีพบัญชีต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้าม ดังต่อไปนี้
- (1) มีภูมิลำเนาหรือถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักร
- (2) มีความรู้ภาษาไทยเพียงพอที่จะทำบัญชีเป็นภาษาไทยได้
- (3)ไม่เคยต้องคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก เนื่องจากกระทำความผิดตามฐานความผิดหรือ กฎหมายที่กำหนดใน มาตรา 39 (3) เว้นแต่ต้องคำพิพากษาหรือพ้นโทษมาแล้ว ไม่น้อยกว่าสามปี
- (4) มีคุณวุฒิการศึกษาตามที่กำหนดในข้อบังคับสภาวิชาชีพบัญชี
- (5) ไม่มีลักษณะต้องห้ามอื่น ตามที่กำหนดในข้อบังคับสภาวิชาชีพบัญชี
- มาตรา 46 ผู้ประกอบวิชาชีพบัญชีหรือผู้ซึ่งขึ้นทะเบียนไว้กับสภาวิชาชีพบัญชี มีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามจรรยาบรรณของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี และต้องปฏิบัติหน้าที่ของตนตามมาตรฐานการบัญชี มาตรฐานการสอบบัญชี หรือมาตรฐานอื่นใดที่เกี่ยวข้องที่กำหนดตามพระราชบัญญัตินี้ บุคคลตามวรรคหนึ่งผู้ใดไม่ปฏิบัติตามจรรยาบรรณหรือมาตรฐานที่กำหนดตามพระราชบัญญัตินี้ ให้ถือว่าผู้นั้นประพฤติผิดจรรยาบรรณ จรรยาบรรณของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี หมายถึง กรอบความประพฤติและวิธีปฏิบัติงานของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชีที่ต้องยึดปฏิบัติ
- มาตรา 47 ให้สภาวิชาชีพบัญชีจัดทำจรรยาบรรณของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชีขึ้นเป็นภาษาไทย และอย่างน้อยต้องประกอบด้วยข้อกำหนดในเรื่อง ดังต่อไปนี้
- (1) ความโปร่งใส ความเป็นอิสระ ความเที่ยงธรรม และความซื่อสัตย์สุจริต
- (2) ความรู้ความสามารถและมาตรฐานในการปฏิบัติงาน
- (3) ความรับผิดชอบต่อผู้รับบริการและการรักษาความลับ
- (4) ความรับผิดชอบต่อผู้ถือหุ้น ผู้เป็นหุ้นส่วน หรือบุคคลหรือนิติบุคคล ที่ผู้ประกอบวิชาชีพบัญชีปฏิบัติหน้าที่ให้ สำหรับผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี นอกจากต้องปฏิบัติตามกฎหมายที่บัญญัติเป็นการทั่วไปแล้ว ยังต้องปฏิบัติตามจรรยาบรรณของผู้ประกอบวิชาชีพ บัญชี และถือเป็นกฎเกณฑ์ที่สูงกว่ากฏหมาย
“พระราชบัญญัติการบัญชี พ.ศ.2543″ (ออกแทนประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 285)
ตามกฎหมายใหม่ จะเห็นได้ว่า “ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี” คือเจ้าของกิจการหรือผู้จัดการ หรือกรรมการผู้จัดการ ของกิจการแต่ละประเภท ของนิติบุคคลนั่นเอง และนิติบุคคลที่ไม่ได้กำหนดประเภทไว้ตามพระราชบัญญัติการบัญชี พ.ศ.2543 นี้ ก็ไม่ต้องจัดทำบัญชี เช่น มูลนิธิ สมาคม สหกรณ์ แต่อย่างไรก็ดีหากมีกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง ยังคงต้องปฏิบัติตามกฎหมายอื่นที่ได้กำหนดไว้
หน้าที่ของผู้มีหน้าจัดทำบัญชี
1.การเริ่มทำบัญชีของธุรกิจ
2.การจัดทำบัญชีตามกฎหมาย
ตามพระราชบัญญัติการบัญชี พ.ศ.2543 จะต้องจัดทำดังต่อไปนี้
2.1 บัญชีรายวัน
2.1.1 บัญชี เงินสด
2.1.2 บัญชี ธนาคาร แยกเป็นแต่ละบัญชีธนาคาร
2.1.3 บัญชี รายวันซื้อ
2.1.4 บัญชี รายวันขาย
2.1.5 บัญชี รายวันทั่วไป
2.2 บัญชี แยกประเภท
2.2.1 บัญชี แยกประเภทสินทรัพย์ หนี้สิน และทุน
2.2.2 บัญชี แยกประเภทรายได้และค่าใช้จ่าย
2.2.3 บัญชี แยกประเภทลูกหนี้
2.2.4 บัญชี แยกประเภทเจ้าหนี้
2.3 บัญชี สินค้า
2.4 บัญชี รายวันแยกประเภทอื่นตามความจำเป็น
นอกจากนี้การลงรายการในบัญชีรายวันและบัญชีสินค้า ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีจะต้องมีเอกสารประกอบการลงบัญชีทุกรายการที่สามารถแสดงความถูกต้องครบถ้วนของรายการบัญชีตามความเป็นจริงและเป็นที่เชื่อถือได้ ดังนั้น “เอกสารประกอบการลงบัญชี” หมายถึงบันทึก หนังสือ หรือเอกสารใดๆ ที่ใช้เป็นหลักฐานในการลงรายการในบัญชี ซึ่งแยกออก ได้เป็น 3 ประเภทคือ
- เอกสารที่จัดทำขึ้นโดยบุคคลภายนอก
- เอกสารที่จัดทำขึ้นโดยผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีเพื่อออกให้แก่บุคคลภายนอก
- เอกสารที่จัดทำขึ้นโดยผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีเพื่อใช้ในกิจการ
3.ส่งมอบเอกสารประกอบการลงบัญชี
ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีจะต้องส่งมอบเอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชีให้แก่ ผู้ทำบัญชี ให้ครบถ้วนถูกต้องเพื่อให้บัญชีที่จัดทำขึ้น แสดงผลการดำเนินงาน ฐานะการเงิน หรือการเปลี่ยนแปลงฐานะการเงิน ที่เป็นอยู่ ตามความเป็นจริงและตามมาตรฐานการบัญชี
4.จัดทำงบการเงิน
ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีต้องจัดทำงบการเงินและยื่นงบการเงิน ต่อสำนักงานกลางบัญชี หรือสำนักงานบัญชีประจำท้องที่ภายใน 5 เดือน นับแต่วันปิดบัญชี ในกรณีที่เป็นบริษัทจำกัดหรือบริษัทมหาชนจำกัด ที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยให้ยื่นภายใน 1เดือนนับแต่วันที่ งบการเงินนั้นได้รับอนุมัติในที่ประชุมใหญ่ผู้ถือหุ้น ซึ่งงบการเงินดังกล่าวจะต้องมีรายการย่อตามที่อธิบดีประกาศกำหนดโดยความเห็นชอบของรัฐมนตรี งบการเงินจะต้องได้รับการตรวจสอบ และแสดงความเห็นโดยผู้สอบบัญชีรับอนุญาต งบการเงินตามพระราชบัญญัตินี้ ได้แก่
- งบดุล
- งบกำไรขาดทุน
- งบกำไรสะสม
- งบกระแสเงินสด
- งบแสดงการเปลี่ยนแปลงส่วนของผู้ถือหุ้น
- งบประกอบหรือหมายเหตุประกอบงบการเงิน หรือคำอธิบายอื่นซึ่งระบุไว้ว่าเป็นส่วนหนึ่งของงบการเงิน
5.การเก็บรักษาบัญชีและเอกสารประกอบการลงบัญชี
ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีมีหน้าที่ต้องเก็บรักษาบัญชีและเอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชีไว้ ณ.สถานที่ทำการหรือ สถานที่ที่ใช้เป็นที่ทำการผลิตหรือเก็บสินค้าเป็นประจำ หรือสถานที่ที่ใช้ทำงานเป็นประจำ โดยเก็นรักษาไว้เป็นเวลาไม่น้อยกว่า 5 ปี แต่ต้องไม่เกิน 7 ปี หากต้องเก็บรักษาบัญชีและเอกสารไว้ ณ.สถานที่อื่น จะต้องได้รับอนุญาตจากสารวัตรใหญ่บัญชี หรือสารวัตรบัญชี
6.คุณวุฒิของผู้ทำบัญชี
ก.ผู้ทำบัญชีของห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน และบริษัทจำกัดที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย ซึ่ง ณ.วันปิดบัญชีในรอบบัญชีที่ผ่านมามี
- ทุนจดทะเบียนไม่เกิน 5 ล้านบาท
- สินทรัพย์รวมไม่เกิน 30 ล้านบาท
- รายได้รวมไม่เกิน 30 ล้านบาท
ต้องมีคุณวุฒิไม่ต่ำกว่าอนุปริญญา หรือประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง(ปวส.) ทางการบัญชีหรือเทียบเท่า จากสถาบันการศึกษา
ข.ผู้ทำบัญชีของผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีดังต่อไปนี้ ต้องมีคุณวุฒิไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีทางการบัญชี หรือเทียบเท่าจากสถาบันการศึกษา
- ห้างหุ้นส่วนจดทะเบียนและบริษัทจำกัดที่จัดตั้งขึ้นตามกฏหมายไทย ซึ่งณ.วันปิดบัญชีในรอบปีบัญชีที่ผ่านมามีทุนจดทะเบียน หรือสินทรัพย์รวม หรือรายได้รวม รายการใดรายการหนึ่งเกินกว่าที่กำหนดไว้ใน ก.
- บริษัทมหาชนที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย
- นิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศที่ประกอบธุรกิจในประเทศไทย
- กิจการร่วมค้าตามประมวลรัษฎากร
- ผู้ประกอบธุรกิจธนาคาร เงินทุนหลักทรัพย์ เครดิตฟองซิเอร์ ประกันชีวิต ประกันวินาศภัย
- ผู้ประกอบธุรกิจซึ่งได้รับการส่งเสริมการลงทุนตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการลงทุน โดยสรุป สิ่งเหล่านี้ คือบริการของเราที่มีให้กับลูกค้าทุกท่าน
โดยสรุป สิ่งเหล่านี้ คือบริการของเราที่มีให้กับลูกค้าทุกท่าน
- ทีมงานบัญชีที่ดูแลงานด้านบัญชีให้กับลูกค้าทุกท่าน มีความรู้ มีประสปการณ์ตรงด้านบัญชี และมีคุณวุฒิถูกต้องครบถ้วนตามกฎหมาย
- การบันทุกบัญชีเป็นไปตาม พรบ .การบัญชี 2543 ดังรายละเอียด ตามข้อ 2 การจัดทำบัญชีตามกฎหมาย
- การจัดทำงบการเงิน พร้อมนำส่งทันเวลาตามกฎหมายกำหนด โดยการนำส่งทางระบบ E-filying ทั้งกรมพัฒนาธุรกิจการค้า และกรมสรรพากร
ดังนั้นท่านวางใจในบริการของเราได้
เพราะทั้งหมดคือ “พันธกิจ” ของ บริษัท ปิติภูมิ การบัญชี จำกัด รับทำบัญชี
มีปัญหาปรึกษาเรา
- งบการเงินที่ไม่เคยยื่นตั้งแต่จดจัดตั้งจดหมายเชิญพบจากสรรพากร ตรวจงบการเงิน
- งบค้างเก่ามาหลายปีจดหมายเชิญพบจากสรรพากร ตรวจสภาพกิจการ หรืออื่นๆ
- เป็นตัวแทนชี้แจงเรื่องภาษี แทนผู้ประกอบการจดหมายจากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า
- งบเลิก ชำระบัญชีจดหมายจากสำนักงานตำรวจ