ในการวางแผนภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ผู้วางแผนภาษีจะต้องทราบถึงความหมายของภาษีเงินได้นิติบุคคลว่าหมายถึง ภาษีอากรประเภทหนึ่งที่บัญญัติไว้ในประมวลรัษฎากร ที่จัดเก็บจากเงินได้ของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลและกฎหมายได้กำหนดผู้มีหน้าที่เสียภาษีและวิธีการเสียภาษีตลอดจนเงื่อนไขต่างๆในการคำนวณภาษีไว้ ผู้วางแผนภาษีจะต้องทราบหลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการคำนวณกำไรสุทธิ เพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลให้ชัดเจนเสียก่อน จึงจะทำการวางแผนภาษี ส่วนสำคัญของภาษีเงินได้นิติบุคคลดังนี้
-
ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้นิติบุคคล
ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้นิติบุคคลได้แก่ บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลโดยประมวลรัษฎากรได้ให้นิยามของคำว่า “บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล” ไว้เป็นพิเศษซึ่งนอกจากจะหมายถึง บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์แล้ว ยังหมายความรวมถึงนิติบุคคลอื่นๆด้วย ดังนั้น
บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้นิติบุคคล ได้แก่
-
- บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย ได้แก่
- บริษัทจำกัด
- บริษัทมหาชนจำกัด
- ห้างหุ้นส่วนจำกัด
- ห้างหุ้นส่วนสามัญจดทะเบียน
- บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศซึ่งมีหน้าเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลในประเทศไทย ก็ต่อเมื่อเข้าเงื่อนไขข้อใดข้อหนึ่งดังต่อไปนี้
- บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลต่างประเทศนั้น เข้ามากระทำกิจการในประเทศไทย
- บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลต่างประเทศนั้น กระทำกิจการในที่อื่นๆรวมทั้งในประเทศไทย
- บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลต่างประเทศนั้น กระทำกิจการอื่นๆรวมทั้งในประเทศไทย และกิจการที่กระทำนั้นเป็นกิจการขนส่งระหว่างประเทศ
- บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลต่างประเทศนั้น มิได้ประกอบกิจการในประเทศไทย แต่ได้รับเงินได้พึงประเมินมาตรา 40 (2) (3) (4) (5) หรือ (6) ที่จ่ายจากหรือในประเทศไทย
- บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลต่างประเทศนั้น มิได้เข้ามาทำกิจการในประเทศไทยโดยตรง หากแต่มีลูกจ้างหรือผู้ทำการแทนหรือผู้มาทำกรติดต่อในการประกอบกิจการในประเทศไทย ซึ่งเป็นเหตุให้ได้รับเงินได้หรือผลกำไรในประเทศไทย
- กิจการซึ่งดำเนินการเป็นทางค้าหรือหากำไร โดย
- รัฐบาลต่างประเทศ
- องค์การของรัฐบาลต่างประเทศ
- นิติบุคคลอื่นที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศ
- กิจการร่วมค้า (Joint Venture) ได้แก่ กิจการที่ดำเนินการร่วมกันเป็นทางค้าหรือหากำไร ระหว่างบุคคลดังต่อไปนี้คือ
- บริษัทกับบริษัท
- บริษัทกับห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล
- ห้างหุ้นส่วนนิติบุคลกับห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล
- บริษัทและ/หรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลกับบุคคลธรรมดา
- บริษัทและ/หรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลกับคณะบุคคลที่ไม่ใช่นิติบุคคล
- บริษัทและ/หรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลกับห้างหุ้นส่วนสามัญ
- บริษัทและ/หรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลกับนิติบุคคลอื่น
- มูลนิธิหรือสมาคมที่ประกอบกิจการซึ่งมีรายได้ แต่ไม่รวมถึงมูลนิธิหรือสมาคม ที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดให้เป็นองค์การหรือสถานสาธารณกุศล
- นิติบุคคลที่อธิบดีกำหนอโดยอนุมัติรัฐมนตรีและประกาศในราชกิจจานุเบกษา ให้เป็นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลตามประมวลรัษฎากร
- บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย ได้แก่
- นิติบุคคลที่ไม่ต้องเสียภาษีเงินได้
- นิติบุคคลอื่นๆนอกจากที่กล่าวใน 1. และเฉพาะที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย เช่น กระทรวง ทบวง กรม องค์การของรัฐบาลหรือสหกรณ์ ไม่มีหน้าที่ต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลแต่อย่างใด เนื่องจากไม่เข้าลักษณะเป็นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลตามบทบัญญัติแห่งประมวลรัษฎากร อย่างไรก็ดียังมีนิติบุคคลอีกบางประเภทที่เข้าลักษณะต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลตามประมวลรัษฎากร แต่ได้รับการยกเว้นตามบทบัญญัติของกฎหมายต่างๆ ได้แก่
- บริษัทหรือห้าวหุ้นส่วนนิติบุคลตามข้อผูกพันที่ประเทศไทยมีอยู่ตามสัญญาว่าด้วยความร่วมมือทางเศรษฐกิจ หรือทางเทคนิคระหว่างรัฐบาลไทยกับรัฐบาลต่างประเทศ
- บริษัทจำกัดที่ได้รับการยกเว้นภาษีเงินได้ตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการลงทุน
- บริษัทจำกัดและนิติบุคคลที่มีสภาพเช่นเดียวกับบริษัทจำกัด ซึ้งตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยหรือกฎหมายต่างประเทศ ได้รับการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลตามพระราชบัญญัติภาษีเงินได้ปิโตรเลียม
- บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่อยู่ในประเทศที่มีอนุสัญญาว่าด้วยการเว้นการเก็บภาษีซ้อนกับประเทศไทย ตามเงื่อนไขที่กำหนดในอนุสัญญา
- มูลนิธิหรือสมาคมที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังประกาศกำหนดให้เป็นองค์การหรือสถานสาธารณกุศล
- ดังนั้นในการวางแผนภาษีเงินได้นิติบุคคลจากข้อยกเว้นนิติบุคคลที่ไม่ต้องเสียภาษีเงินได้ กิจการอาจจะเลือกจัดตั้งธุรกิจที่จะทำให้ไม่ต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลหรือเสียน้อยกว่าประเภทอื่น เช่น กิจการที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนจะได้รับสิทธิ์ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลตลอดระยะเวลา3-8ปี ตามหลักเกณฑ์ของคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนและประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
- นิติบุคคลอื่นๆนอกจากที่กล่าวใน 1. และเฉพาะที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย เช่น กระทรวง ทบวง กรม องค์การของรัฐบาลหรือสหกรณ์ ไม่มีหน้าที่ต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลแต่อย่างใด เนื่องจากไม่เข้าลักษณะเป็นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลตามบทบัญญัติแห่งประมวลรัษฎากร อย่างไรก็ดียังมีนิติบุคคลอีกบางประเภทที่เข้าลักษณะต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลตามประมวลรัษฎากร แต่ได้รับการยกเว้นตามบทบัญญัติของกฎหมายต่างๆ ได้แก่
- ฐานภาษีของภาษีเงินได้นิติบุคคล
- ภาษีเงินได้นิติบุคคลคำนวณจากเงินได้ที่ใช้เป็นหลักฐานในการคำนวณภาษีคูณด้วยอัตราภาษีที่กำหนด ดังนั้นเงินได้ที่ต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลหรือฐานภาษีเงินได้นิติบุคคลนั้น โดยทั่วไปได้แก่กำไรสุทธิที่คำนวณตามเงื่อนไขที่กำหนด แต่เพื่อความเป็นธรรมและอุดช่องว่างในการจัดเก็บภาษีเงินได้ จึงดัมีการบัญญัติจัดเก็บภาษีเงินได้นิติบุคคลจากเงินได้หรือฐานภาษีที่แตกต่างกันดังนี้
- กำไรสุทธิ
- ยอดรายรับก่อนหักรายจ่าย
- เงินได้ที่จ่ายจากหรือในประเทศ
- การจำหน่ายเงินกำไรออกไปจากประเทศไทย
- ในการวางแผนภาษีเงินได้นิติบุคคล โดยทั่วไปแล้วฐานภาษีจะคำนวณจากกำไรสุทธิ ซึ่งเกิดจากการนำรายได้หักออกจากค่าใช้จ่ายในแต่ล่ะรอบระยะเวลาบัญชี สิ่งที่ผู้วางแผนควรจะคำนึงถึงก็คือการเลือกรายได้และค่าใช้จ่ายที่ใช้ในการคำนวณฐานภาษีเงินได้นิติบุคคล เช่น การให้เงินกู้แก่กรรมการโดยไม่คิดดอกเบี้ยซึ่งอาจจะทำให้เจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจประเมินเป็นรายได้เพื่อคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคลการจ่ายค่าใช้จ่ายควรจะมีหลักฐานที่พิสูจน์ได้ว่าใครเป็นผู้รับ
- ภาษีเงินได้นิติบุคคลคำนวณจากเงินได้ที่ใช้เป็นหลักฐานในการคำนวณภาษีคูณด้วยอัตราภาษีที่กำหนด ดังนั้นเงินได้ที่ต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลหรือฐานภาษีเงินได้นิติบุคคลนั้น โดยทั่วไปได้แก่กำไรสุทธิที่คำนวณตามเงื่อนไขที่กำหนด แต่เพื่อความเป็นธรรมและอุดช่องว่างในการจัดเก็บภาษีเงินได้ จึงดัมีการบัญญัติจัดเก็บภาษีเงินได้นิติบุคคลจากเงินได้หรือฐานภาษีที่แตกต่างกันดังนี้
- วิธีการเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล
- การเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลตามประมวลรัษฎากรมีดังนี้
- การเสียภาษีโดยยื่นรายการประเมินตนเอง
- โดยทั่วไปผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้นิติบุคคลจะต้องคำนวณภาษีและยื่นและแสดงรายการตามกำหนดเวลาที่กฎหมายบัญญัติไว้ ซึ่งแตกต่างกันไปตามประเภทของนิติบุคคลและวิธีการคำนวณเสียภาษี
- การเสียภาษีโดยถูกหักไว้ ณ ที่จ่าย
- ประมวลรัษฎากรได้บัญญัติให้ผู้จ่ายเงินได้ให้แก่บริษัทหรือหุ้นส่วนนิติบุคคลในบางกรณีต้องหักภาษี ณ ที่จ่ายและนำส่งรัฐบาลโดยภาษีที่หักไว้นั้นให้ถือเครดิตภาษีในการคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคลเมื่อถึงกำหนดเวลายื่นแบบแสดงรายการตามปกติ
- การเสียภาษีโดยการตรวจสอบของเจ้าพนักงานประเมิน
- ในกรณีที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ได้คำนวณและชำระภาษีเงินได้นิติบุคคลไว้ไม่ถูกต้องครบถ้วน เจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจเรียกตรวจสอบและประเมินเงินภาษีรวมทั้งเบี้ยปรับและเงินเพิ่มให้บริษัทเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลให้ถูกต้องการประเมินของเจ้าพนักงานประเมิน สามารถประเมินได้จากการตรวจสอบและประเมินโดยไม่ได้ทำการตรวจสอบ นอกจากนี้ในกรณีจำเป็นพนักงานอาจประเมินภาษีก่อนถึงกำหนดเวลายื่นแบบแสดงรายการก็ได้
- อัตราภาษีเงินได้นิติบุคคล
- การเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลจะคำนวณจากฐานภาษีของเงินได้นิติบุคคล ซึ่งก็คือ ”กำไร (ขาดทุน) สุทธิ” ในหลักเกณฑ์ของการคำนวณกำไรสุทธิ กิจการจะต้องนำรายได้ทั้งหมดที่เกิดจากการดำเนินงานมาหักออกจากค่าใช้จ่ายทั้งหมด ผลแตกต่างที่เกิดขึ้นจะออกมาในรูปของกำไรหรือขาดทุนสุทธิทางบัญชี กิจการจะต้องนำ “กำไรทางบัญชี” มาปรับปรุงให้เป็น “กำไรทางภาษีอากร” เพื่อนำไปคำนวณเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล อัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลที่จะนำไปคำนวณกำไรหรือขาดทุนสุทธิเพื่อเสียภาษีนั้นโดยปกติมีดังนี้
- สำหรับบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลทั่วไป
- ภาษีจากกำไรสุทธิของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล 23%(สำหรับปี 2555)และ 20% (สำหรับปี 2556-2557)
- ภาษีมาตรา 70 นอกจากที่ระบุใน (1.3) 15%
- ภาษีมาตร 70 เฉพาะกรณีการจ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (4) (ข) 10%
- ภาษีมาตรา 70 ทวิ 10%
- ภาษีจากรายได้ก่อนหักรายจ่ายใดๆของมูลนิธิหรือสมาคมที่ประกอบกิจการซึ่งมีรายได้อันมิใช่รายได้ตามาตรา 65 ทวิ (13) 10%
- นิติบุคคลที่มีทุนชำระแล้วไม่เกิน 5 ล้านบาท
- ตามพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการลดอัตรารัษฎากร (ฉบับที่530) พ.ศ.2554 กรมสรรพากรได้มีการลดอัตราภาษีเงินได้ตาม(ก) ของ (2) สำหรับบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลแห่งบัญชีอัตราภาษีเงินได้ และคงจัดเก็บในอัตราดังต่อไปนี้ ทั้งนี้ เฉพาะบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่มีทุนที่ชำระแล้วในวันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชีไม่เกิน 5 ล้านบาท และมีรายได้จากการขายสินค้าหรือให้บริการไม่เกิน 30 ล้านบาท
- กำไรสุทธิส่วนที่ไม่เกิน 150,000 บาท ได้รับยกเว้น
- กำไรสุทธิส่วนที่เกิน 150,000 บาท แต่ไม่เกิน 1 ล้านบาท ร้อยละ 15
- กำไรสุทธิส่วนที่ 1 ล้านบาทขึ้นไป ให้จัดเก็บดังนี้
- ร้อยละ 23 สำหรับปี 2555
- ร้อยละ 20 สำหรับปี 2556-2557
- ตามพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการลดอัตรารัษฎากร (ฉบับที่530) พ.ศ.2554 กรมสรรพากรได้มีการลดอัตราภาษีเงินได้ตาม(ก) ของ (2) สำหรับบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลแห่งบัญชีอัตราภาษีเงินได้ และคงจัดเก็บในอัตราดังต่อไปนี้ ทั้งนี้ เฉพาะบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่มีทุนที่ชำระแล้วในวันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชีไม่เกิน 5 ล้านบาท และมีรายได้จากการขายสินค้าหรือให้บริการไม่เกิน 30 ล้านบาท
- สำหรับบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลทั่วไป
- การเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลจะคำนวณจากฐานภาษีของเงินได้นิติบุคคล ซึ่งก็คือ ”กำไร (ขาดทุน) สุทธิ” ในหลักเกณฑ์ของการคำนวณกำไรสุทธิ กิจการจะต้องนำรายได้ทั้งหมดที่เกิดจากการดำเนินงานมาหักออกจากค่าใช้จ่ายทั้งหมด ผลแตกต่างที่เกิดขึ้นจะออกมาในรูปของกำไรหรือขาดทุนสุทธิทางบัญชี กิจการจะต้องนำ “กำไรทางบัญชี” มาปรับปรุงให้เป็น “กำไรทางภาษีอากร” เพื่อนำไปคำนวณเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล อัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลที่จะนำไปคำนวณกำไรหรือขาดทุนสุทธิเพื่อเสียภาษีนั้นโดยปกติมีดังนี้
- การเสียภาษีโดยยื่นรายการประเมินตนเอง
- การเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลตามประมวลรัษฎากรมีดังนี้
- ภาษีเงินได้นิติบุคคลคำนวณจากกำไรสุทธิ
- การเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลจะคำนวณจากฐานภาษีของเงินได้นิติบุคคล ซึ่งก็คือ ”กำไร (ขาดทุน) สุทธิ” ในหลักเกณฑ์ของการคำนวณกำไรสุทธิ กิจการจะต้องนำรายได้ทั้งหมดที่เกิดจากการดำเนินงานมาหักออกจากค่าใช้จ่ายทั้งหมด ผลแตกต่างที่เกิดขึ้นจะออกมาในรูปของกำไรหรือขาดทุนสุทธิทางบัญชี กิจการจะต้องนำ “กำไรทางบัญชี” มาปรับปรุงให้เป็น “กำไรทางภาษีอากร” เพื่อนำไปคำนวณเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล อัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลที่จะนำไปคำนวณกำไรหรือขาดทุนสุทธิเพื่อเสียภาษีนั้นโดยปกติมีดังนี้
- สำหรับบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลทั่วไป
- ภาษีจากกำไรสุทธิของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล 23%(สำหรับปี 2555)และ 20% (สำหรับปี 2556-2557)
- ภาษีมาตรา 70 นอกจากที่ระบุใน (1.3) 15%
- ภาษีมาตร 70 เฉพาะกรณีการจ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (4) (ข) 10%
- ภาษีมาตรา 70 ทวิ 10%
- ภาษีจากรายได้ก่อนหักรายจ่ายใดๆของมูลนิธิหรือสมาคมที่ประกอบกิจการซึ่งมีรายได้อันมิใช่รายได้ตามาตรา 65 ทวิ (13) 10%
- นิติบุคคลที่มีทุนชำระแล้วไม่เกิน 5 ล้านบาท
- ตามพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการลดอัตรารัษฎากร (ฉบับที่530) พ.ศ.2554 กรมสรรพากรได้มีการลดอัตราภาษีเงินได้ตาม(ก) ของ (2) สำหรับบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลแห่งบัญชีอัตราภาษีเงินได้ และคงจัดเก็บในอัตราดังต่อไปนี้ ทั้งนี้ เฉพาะบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่มีทุนที่ชำระแล้วในวันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชีไม่เกิน 5 ล้านบาท และมีรายได้จากการขายสินค้าหรือให้บริการไม่เกิน 30 ล้านบาท
- กำไรสุทธิส่วนที่ไม่เกิน 150,000 บาท ได้รับยกเว้น
- กำไรสุทธิส่วนที่เกิน 150,000 บาท แต่ไม่เกิน 1 ล้านบาท ร้อยละ 15
- กำไรสุทธิส่วนที่ 1 ล้านบาทขึ้นไป ให้จัดเก็บดังนี้
- ร้อยละ 23 สำหรับปี 2555
- ร้อยละ 20 สำหรับปี 2556-2557
- ตามพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการลดอัตรารัษฎากร (ฉบับที่530) พ.ศ.2554 กรมสรรพากรได้มีการลดอัตราภาษีเงินได้ตาม(ก) ของ (2) สำหรับบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลแห่งบัญชีอัตราภาษีเงินได้ และคงจัดเก็บในอัตราดังต่อไปนี้ ทั้งนี้ เฉพาะบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่มีทุนที่ชำระแล้วในวันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชีไม่เกิน 5 ล้านบาท และมีรายได้จากการขายสินค้าหรือให้บริการไม่เกิน 30 ล้านบาท
- ภาษีเงินได้นิติบุคคลคำนวณจากกำไรสุทธิ
- ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้จากกำไรสุทธิ
- ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้นิติบุคคลจากกำไรสุทธิ ได้แก่
- บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย ได้แก่
- บริษัทจำกัด
- บริษัทมหาชนจำกัด
- ห้างหุ้นส่วนจำกัด
- ห้างหุ้นส่วนสามัญจดทะเบียน
- บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย ได้แก่
- ในกรณีที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยมีสาขาไม่ว่าจะอยู่ในหรือนอกประเทศไทยจะต้องนำกำไรสุทธิของสาขามารวมกำไรสุทธิของสำนักงานใหญ่เพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลในประเทศไทย
- บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศ
- บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศ และมีหน้าที่เสียภาษีเงินได้นิติบุคคลในประเทศไทย ได้แก่
- บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศและกระทำกิจการในที่อื่นๆ รวมทั้งในประเทศไทย ได้แก่ บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศดังกล่าว จะต้องนำกำไรสุทธิเฉพาะที่ได้จากการกระทำกิจการในประเทศไทยมาเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล
- บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ซึ่งตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศมีลูกจ้างหรือผู้ทำการแทน หรือผู้ทำการติดต่อในการประกอบกิจการในประเทศไทย ซึ่งเป็นเหตุให้ได้รับเงินได้หรือผลกำไรในประเทศไทย ให้ถือว่าบุคคลผู้เป็นลูกจ้างหรือผู้ทำการแทน หรือผู้ทำกรติดต่อเช่นว่านั้น ไม่ว่าจะเป็นบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคล เป็นตัวแทนของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลซึ่งตั้งขึ้นตามกฎหมายชองต่างประเทศและให้บุคคลนั้นมีหน้าที่และความรับผิดชอบในการยื่นรายการและเสียภาษีเงินได้เฉพาะที่เกี่ยวกับเงินได้หรือกำไรดังกล่าว
- กิจการซึ่งดำเนินการเป็นทางค้าหรือหากำไรโยรัฐบาลต่างประเทศองค์การของรัฐบาลต่างประเทศ หรือนิติบุคคลอื่นที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศ
- กิจการร่วมค้า
- บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศ และมีหน้าที่เสียภาษีเงินได้นิติบุคคลในประเทศไทย ได้แก่
- รอบระยะเวลาบัญชี
- ผู้ที่มีหน้าที่เสียภาษีจากกำไรสุทธิต้องคำนวณกำไรสุทธิจากรายได้จากกิจการหรือเนื่องจากกิจกรที่กระทำในรอบระยะเวลาบัญชีหักด้วยรายจ่ายตามเงื่อนไขที่ระบุไว้ในมาตรา 65 ทวิ และมาตรา 65 ตรี ซึ่งประมวลรัษฎากรได้กำหนดระยะเวลาบัญชีหนึ่งๆ ไว้ดังนี้
- รอบระยะเวลาบัญชีโดยทั่วไป รอบระยะเวลาบัญชีโดยทั่วไปสำหรับการคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคลจะต้องเท่ากับ 12 เดือน โยจะเริ่มต้นและสิ้นสุดลงเมื่อใดก็ได้
- รอบระยะเวลาบัญชีซึ่งน้อยกว่า 12 เดือน กรณีที่กฎหมายยอมให้รอบระยะเวลาบัญชีน้อยกว่า 12 เดือนได้เฉพาะกรณีดังต่อไปนี้ คือ
- ก.บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลเริ่มตั้งใหม่ จะถือวันเริ่มตั้งถึงวันหนึ่งวันใดเป็นรอบระยะเวลาบัญชีแรกก็ได้ แต่รอบระยะเวลาบัญชีต่อไปต้องเท่ากับ12 เดือน
- ข.บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลอาจยื่นคำร้องขอเปลี่ยนวันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชีก็ได้ ตามที่อธิบดีกรมสรรพากรจะเห็นสมควรและสั่งอนุญาตซึ่งรอบระยะเวลาบัญชีแรกที่ได้รับอนุญาตให้เปลี่ยนจะน้อยกว่า 12 เดือน
- ค.บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนที่เลิกกัน ให้ถือเอาวันที่เจ้าพนักงานรับจดทะเบียนเลิกเป็นวันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชี
- ง.บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลควบเข้ากัน ให้ถือว่าบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนั้นเลิกกันรอบระยะเวลาบัญชีทีควบเข้ากันจึงเป็นไปตามข้อ ค. ซึ่งอาจน้อยกว่า 12 เดือน ในกรณีทีบริษัทเลิกกิจการและยังชำระบัญชีไม่เสร็จหากมีกำไรสุทธิเกิดขึ้นจะต้องนำมาเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล เพราะประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ถือว่าบริษัทยังมีสภาพเป็นนิติบุคคลอยู่ตราบเท่าที่ยังชำระบัญชีไม่เสร็จสิ้น
- รอบระยะเวลาบัญชีมากกว่า 12 เดือน รอบระยะเวลาบัญชีอาจขยายออกไปมากกว่า 12 เดือนก็ได้ ในกรณีที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลเลิกกิจการ หากผู้ชำระบัญชีและผู้จัดการไม่สามารถยื่นรายการและเสียภาษีภายใน 150 วัน นับแต่วันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชีแล้วถ้าได้ยื่นคำร้องต่ออธิบดีภายใน 30 วัน นับแต่วันที่เจ้าพนักงานรับจดทะเบียนเลิกอธิบดีกรมสรรพากรอาจพิจารณาอนุมัติให้ขยายรอบระยะเวลาบัญชีออกไปได้ ซึ่งรอบระยะเวลาบัญชีรอบนี้อาจเกิน 12 เดือนก็ได้
- กำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล
- ตามประมวลรัษฎากรได้กำหนดให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคลเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลจากผลกำไรสุทธิโดยคำนวณจากรายได้ซึ่งได้จากกิจการที่กระทำในรอบระยะเวลาบัญชีหักด้วยรายจ่ายตามเงื่อนไขที่ระบุไว้ในมาตรา 65 ทวิและมาตรา 65 ตรี การคำนวณรายได้และรายจ่ายดังกล่าวให้ใช้เกณฑ์สิทธิโยให้นำรายได้ที่เกิดขึ้นรอบระยะเวลาบัญชีใดแม้นว่าจะยังไม่ได้รับชำระในรอบระยะเวลาบัญชีนั้นมารวมคำนวณเป็นรายได้ในรอบระยะเวลาบัญชีนั้นและให้นำรายจ่ายทั้งสิ้นที่เกี่ยวกับรายได้นั้น แม้จะยังมิได้จ่ายในรอบระยะบัญชีนั้นมารวมคำนวณเป็นรายจ่ายของรอบระยะเวลาบัญชีนั้น ในกรณีจำเป็นผู้มีเงินได้จะขออนุมัติต่ออธิบดีเพื่อเปลี่ยนแปลงเกณฑ์สิทธิ และวิธีการบัญชีเพื่อคำนวณรายได้และรายจ่ายตามเกณฑ์อื่นก็ได้ และเมื่อได้รับอนุมัติจากอธิบดีแล้วให้ถือปฏิบัติตั้งแต่รอบระยะเวลาบัญชีที่อธิบดีกำหนดเป็นต้นไป นอกจากนี้แล้วประมวลรัษฎากรได้กำหนดเงื่อนไขต่างๆในการคำนวณกำไรสุทธิไว้ดังนี้
- มาตรา 65 ทวิ กำหนดเงื่อนไขเกี่ยวกับการหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคา การตีราคาทรัพย์สินและสินค้าคงเหลือ การจำหน่ายหนี้สูญ การยกเว้นภาษีเงินได้สำหรับดอกเบี้ยและเงินปันผลในบางกรณี
- มาตรา 65 ตรี กำหนดรายจ่ายที่จะนำมาหักในการคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคลไม่ได้หรือถ้าหากจะนำมาหักได้ก็ต้องเป็นไปตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้
- มารตรา 70 ตรี กำหนดให้ถือว่าการที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลส่งสินค้าออกไปต่างประเทศให้แก่ สำนักงานใหญ่ สาขา ฯลฯ เป็นการขายในประเทศ
- มาตรา 74 กำหนดวิธีการคำนวณกำไรสุทธิ ในกรณีบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนเลิกกัน หรือควบเข้ากันกับบริษัท หรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลอื่น
- ตามประมวลรัษฎากรได้กำหนดให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคลเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลจากผลกำไรสุทธิโดยคำนวณจากรายได้ซึ่งได้จากกิจการที่กระทำในรอบระยะเวลาบัญชีหักด้วยรายจ่ายตามเงื่อนไขที่ระบุไว้ในมาตรา 65 ทวิและมาตรา 65 ตรี การคำนวณรายได้และรายจ่ายดังกล่าวให้ใช้เกณฑ์สิทธิโยให้นำรายได้ที่เกิดขึ้นรอบระยะเวลาบัญชีใดแม้นว่าจะยังไม่ได้รับชำระในรอบระยะเวลาบัญชีนั้นมารวมคำนวณเป็นรายได้ในรอบระยะเวลาบัญชีนั้นและให้นำรายจ่ายทั้งสิ้นที่เกี่ยวกับรายได้นั้น แม้จะยังมิได้จ่ายในรอบระยะบัญชีนั้นมารวมคำนวณเป็นรายจ่ายของรอบระยะเวลาบัญชีนั้น ในกรณีจำเป็นผู้มีเงินได้จะขออนุมัติต่ออธิบดีเพื่อเปลี่ยนแปลงเกณฑ์สิทธิ และวิธีการบัญชีเพื่อคำนวณรายได้และรายจ่ายตามเกณฑ์อื่นก็ได้ และเมื่อได้รับอนุมัติจากอธิบดีแล้วให้ถือปฏิบัติตั้งแต่รอบระยะเวลาบัญชีที่อธิบดีกำหนดเป็นต้นไป นอกจากนี้แล้วประมวลรัษฎากรได้กำหนดเงื่อนไขต่างๆในการคำนวณกำไรสุทธิไว้ดังนี้
- เงื่อนไขการคำนวณกำไรสุทธิ
- หลักเกณฑ์ในการคำนวณกำไรสุทธิของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลจะต้องนำรายได้มาหักออกจากค่าใช้จ่ายเพื่อคำนวณหากำไรหรือขาดทุนสุทธิของกิจการในการเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล ในส่วนของรายได้ที่เกิดจากกิจการจะต้องนำไปคำนวณกำไรสุทธิ แต่ในประมูลรัษฎากรได้กำหนดให้มีรายได้ส่วนที่ได้รับการลดหย่อนหรือยกเว้นภาษีไว้ซึ่งผู้วางแผนภาษีจะต้องระมัดระวังในกรนำรายได้ดังกล่าวไปประกอบการคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล ดังนั้นรายได้ส่วนที่ได้รับการลดหย่อนหรือยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลที่จะต้องนำไปพิจารณาเพื่อประโยชน์ในการวางแผนภาษีเช่น
- รายได้เงินปันผล
- เฉพาะบริษัทจำกัดที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย ได้แก่ เงินปันผลจากบริษัทจำกัดที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย กองทุนรวม หรือสถาบันการเงินที่มีกฎหมายโดยเฉพาะของประเทศไทยจัดตั้งขึ้น สำหรับให้กู้เงินเพื่อส่งเสริมเกษตรกรรม พาณิชย์กรรม หรืออุตสาหกรรม และเงินส่วนแบ่งกำไรที่ได้จากกิจการร่วมค้าได้รับการลดหย่อนหรือยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลดังนี้
- บริษัทจำกัดที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย ให้นำเงินปันผลและเงินส่วนแบ่งกำไรมารวมคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลเพียงกึ่งหนึ่ง
- บริษัทจำกัดที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยดังต่อไปนี้ไม่ต้องนำเงินปันผลและเงินส่วนแบ่งกำไรดังกล่าวมารวมคำนวณเป็นรายได้
- บริษัทจดทะเบียน
- บริษัทจำกัดนอกจาก ก. ซึ้งถือหุ้นในบริษัทจำกัดผู้จ่ายเงินปันผลไม่น้อยกว่า 25% ของหุ้นทั้งหมดที่มีสิทธิออกเสียงในบริษัทจำกัดผู้จ่ายเงินปันผลและบริษัทจำกัดผู้จ่ายเงินปันผลไม่ได้ถือหุ้นในบริษัทจำกัดผู้รับเงินปันผลไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อม
- เฉพาะบริษัทจำกัดที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย ได้แก่ เงินปันผลจากบริษัทจำกัดที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย กองทุนรวม หรือสถาบันการเงินที่มีกฎหมายโดยเฉพาะของประเทศไทยจัดตั้งขึ้น สำหรับให้กู้เงินเพื่อส่งเสริมเกษตรกรรม พาณิชย์กรรม หรืออุตสาหกรรม และเงินส่วนแบ่งกำไรที่ได้จากกิจการร่วมค้าได้รับการลดหย่อนหรือยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลดังนี้
- เงินปันผลตามกฎหมายว่าด้วยภาษีเงินได้ปิโตรเลียม
- เงินปันผลหรือเงินส่วนแบ่งกำไรทีอยู่ในบังคับต้องถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายตามกฎหมายว่าด้วยภาษีเงินได้ปิโตรเลียม ให้นำมารวมคำนวณเป็นรายได้เพียงเท่าที่เหลือจากถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายตามกฎหมายดังกล่าว และถ้าผู้รับเป็นบริษัทจดทะเบียนหรือเป็นบริษัทที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยให้นำบทบัญญัติของมาตรา 65 ทวิ (10) แห่งประมวลรัษฎากรมาใช้บังคับโดยอนุโลม
- เงินปันผลหรือเงินส่วนแบ่งกำไรที่ได้รับจากกิจการร่วมค้า
- เงินปันผลหรือเงินส่วนแบ่งกำไรที่ได้รับจากการร่วมค้าที่ประกอบกิจการในประเทศไทย ได้รับยกเว้นไม่ต้องรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้สำหรับ
- บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย
- บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศและประกอบกิจการในประเทศไทย
- เงินปันผลหรือเงินส่วนแบ่งกำไรที่ได้รับจากการร่วมค้าที่ประกอบกิจการในประเทศไทย ได้รับยกเว้นไม่ต้องรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้สำหรับ
- เงินปันผลจากกิจการส่งเสริมการลงทุน
- เงินปันผลหรือเงินส่วนแบ่งกำไรของกิจการสถานฝึกอบรม
- เงินปันผลหรือเงินส่วนแบ่งของกำไรที่ได้รับจากบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่มิได้ประกอบกิจการอื่นนอกจากกิจการสถานฝึกอบรมเพื่อพัฒนาฝีมือแรงงานของลูกจ้างของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิตอบุคคลผู้จ่ายเงินปันผล หรือของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลในเครือเดียวกันกับบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลผู้จ่ายเงินปันผล
- ค่าแห่งกู๊ดวิลล์ ค่าแห่งลิขสิทธิ์อย่างอื่น
- ค่าแห่งกู๊ดวิลล์ ค่าแห่งลิขสิทธิ์หรืออสิทธิอย่างอื่นที่ได้รับจากผู้ที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุน ตามสัญญาที่ได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนได้รับการยกเว้นไม่ต้องรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้มีกำหนดระยะเวลา 5 ปีนับแต่วันที่ผู้ได้รับการส่งเสริมมีรายได้จากการประกอบกิจการที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุน ทั้งนี้ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนกำหนด
- ค่าวิจัยและพัฒนา
- ค่าศึกษาหรือฝึกอบรม
- เงินได้ของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลเป็นจำนวนร้อยละ 100 ของรายจ่ายที่ได้จ่ายไปเป็นค่าใช้จ่ายในการส่งลูกจ้างของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนั้นเข้ารับการศึกษาหรือฝึกอบรมสถานศึกษาหรือสถานฝึกอบรมวิชาชีพทีทางราชการหรือเอกชนได้จัดตั้งขึ้นหรือรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังประกาศกำหนด
- สิ่งสำคัญอย่างยิ่งในการวางแผนภาษีก็คือเงื่อนไข หรือหลักเกณฑ์ในการคำนวณกำไรสุทธิ โดยเฉพาะอย่างยิ่งค่าใช้จ่ายที่มีผลกระทบต่อการคำนวณกำไรสุทธิของกิจการไม่ว่าจะเป็นมาตรา 65 ทวิและ 65 ตรี แห่งประมวลรัษฎากร การวางแผนภาษีดังกล่าวนี้ผู้วางแผนภาษีจะต้องระมัดระวังหลักเกณฑ์และเงื่อนไขต่างๆตลอดจนข้อห้ามที่ได้กำหนดไว้ในกฎหมาย แต่สิ่งที่ผู้วางแผนควรจะให้ความระมัดระวังก็คือการศึกษากฎหมายจากประมวลรัษฎากรอย่างเดียวคงไม่เพียงพอ จะต้องพิจารณาจากคำพิพากษาฎีกา หนังสือตอบข้อหารือของกรมสรรพากร ประกอบในการพิจารณาการวางแผนภาษีให้รัดกุมยิ่งขึ้น
- การคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลจะต้องเป็นไปตามเงื่อนไขตามที่บัญญัติตามมาตรา 65 ทวิ มีรายละเอียดดังนี้
- รายการที่ระบุไว้ในมาตรา 65 ตรี ไม่ให้ถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิ
- การหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคา
- การตีราคาทรัพย์สิน
- การโอนทรัพย์สินโดยไม่มีค่าตอบแทน
- การคำนวณมูลค่าของทรัพย์สินและหนี้สินเมื่อมีค่าหรือราคาเป็นเงินตราต่างประเทศ
- เงินตรา ทรัพย์สิน หรือหนี้สิน ซึ่งมีค่าหรือราคาเป็นเงินตราต่างประเทศที่เหลืออยู่ในวันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชีให้คำนวณค่าหรือราคาเป็นเงินตราไทยดังนี้
- กรณีบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนอกจาก ข. ให้คำนวณค่าหรือราคาของเงินตราหรือทรัพย์สินเป็นเงินตราไทยตามอัตราตัวเฉลี่ยที่ธนาคารพาณิชย์รับซื้อ ซึ่งธนาคารแห่งประเทศไทยได้คำนวณไว้และให้คำนวณค่าหรือราคาของหนี้สินเป็นเงินตราไทยตามอัตราถัวเฉลี่ยที่ธนาคารพาณิชย์ขาย ซึ่งธนาคารแห่งประเทศไทยได้คำนวณไว้
- กรณีธนาคารพาณิชย์หรือสถาบันการเงินอื่นตามที่รัฐมนตรีกำหนดให้คำนวณค่าหรือราขาของเงินตรา ทรัพย์สิน หรือหนี้สินเป็นเงินตราไทยตามอัตราถัวเฉลี่ยระหว่างอัตราซื้อและอัตราขายของธนาคารพาณิชย์ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยได้คำนวณไว้ เพื่ออำนวยความสะดวกแก่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่มีรอบระยะเวลาบัญชีสิ้นสุดลงในวันที่ 31 ธันวาคม ซึ่งเป็นผู้ประกอบการส่วนใหญ่ กรมสรรพากรจะออกประกาศอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศในกรณีดังกล่าวให้ทราบทั่วกันส่วนผู้มีรอบระยะเวลาบัญชีสิ้นสุดลงในวันอื่นกรมสรรพากรไม่อาจประกาศให้ทราบได้จึงเป็นหน้าที่ของผู้ประกอบการต้องสอบถามจากธนาคารแห่งประเทศไทย หรือสำนักงานสาขาส่วนภูมิภาคของธนาคารแห่งประเทศไทยได้โดยตรง
- เงินตรา ทรัพย์สิน หรือหนี้สิน ซึ่งมีค่าหรือราคาเป็นเงินตราต่างประเทศที่เหลืออยู่ในวันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชีให้คำนวณค่าหรือราคาเป็นเงินตราไทยดังนี้
- การตีราคาสินค้าคงเหลือ
- การคำนวณราคาทุนของสินค้าที่ส่งมาจากต่างประเทศ
- การคำนวณราคาทุนของสินค้าที่เป็นเงินตราต่างประเทศ
- การจำหน่ายหนี้สิน
- การคำนวณเงินปันผลเป็นรายได้
- ดอกเบี้ยเงินกู้ยืมที่อยู่ในบังคับต้องถูกหักภาษีไว้ ณ ที่จ่ายตามกฎหมายว่าด้วยภาษีเงินได้ปิโตรเลียม
- เงินปันผลหรือเงินส่วนแบ่งของกำไรที่อยู่ในบังคับต้องถูกหักภาษีไว้ ณ ที่จ่ายตามกฎหมายว่าด้วยภาษีเงินได้ปิโตรเลียม
- รายได้ของมูลนิธิหรือสมาคม
- ภาษีมูลค่าเพิ่ม
- เงินสำรองต่างๆ นอกจาก
- เงินสำรองจากเบี้ยประกันภัยเพื่อสมทบทุนประกันชีวิตที่กันไว้ก่อนคำนวณกำไร เฉพาะส่วนที่ไม่เกินร้อยละ 65 ของจำนวนเบี้ยประกันภ้ยที่ได้รับในรอบระยะเวลาบัญชีหลังจากหักเบี้ยประกันซึ่งเอาประกันต่อออกแล้วถือเป็นรายจ่ายได้ ในรอบระยะเวลาบัญชีถ้ากิจการจำเป็นต้องใช้เงินตามจำนวนที่เอาประกัน สำหรับกรมธรรม์ประกันชีวิตรายใดไม่ว่าเต็มจำนวน หรือบางส่วน เงินที่ใช้ไปเฉพาะส่วนที่เกินเงินสำรองที่ตั้งไว้ถือเป็นรายจ่ายได้ (ส่วนที่ไม่เกินถือเป็นรายจ่ายไม่ได้) เมื่อกรมธรรม์ประกันชีวิตสิ้นสุดลงโดยการเลิกสัญญากรมธรรม์ เงินสำรองที่ตั้งไว้สำหรับกรมธรรม์รายที่เลิกต้องโอนกลับไปเป็นรายได้ ในรอบระยะเวลาบัญชีที่เลิกกรมธรรม์นั้น
- เงินสำรองจากเบี้ยประกันเพื่อสมทบทุนประกันภัยอื่นที่กันไว้ก่อนคำนวณกำไรเฉพาะส่วนที่ไม่เกินร้อยละ 40 ของจำนวนเบี้ยประกันภัยที่ได้รับในรอบระยะเวลาบัญชีหลังจากหักเบี้ยประกันภัยซึ่งเอาประกันต่อออกแล้วถือเป็นรายจ่ายได้ เงินสำรองที่กันไว้นี้จะต้องถือเป็นรายได้ในการคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีในรอบระยะเวลาบัญชีปีถัดไป
- เงินสำรองที่กันไว้เป็นค่าเผื่อหนี้สูญหรือหนี้สงสัยจะสูญสำหรับหนี้จาการให้สินเชื่อของธนาคารหรือบริษัทเงินทุน บริษัทหลักทรัพย์หรือบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจเงินทุนธุรกิจหลักทรัพย์และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์เฉพาะส่วนที่ตั้งเพิ่มขึ้นจากเงินสำรองสำหรับหนี้จากการใช้สินเชื่อปรากฏในงบดุลของรอบระยะเวลาบัญชีก่อน แต่เงินสำรองดังกล่าวเมื่อรวมกันแล้วต้องไม่เกินร้อยละ 3 ของยอดหนี้จากการให้สินเชื่อ ณ วันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชีและเงินสำรองส่วนที่ตั้งเพิ่มขึ้นที่จะนำมาถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิหรือขาดทุนสุทธิได้ต้องไม่เกินร้อยละ 25 ของกำไรสุทธิในรอบระยะเวลาบัญชีนั้นหรือร้อยละ0.25 ของยอดหนี้จากการใช้สินเชื่อ ณ วันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชีนั้นแล้วแต่จำนวนใดจะต่ำกว่า
- ยอดหนี้จากการให้สินเชื่อไม่รวมถึงหนี้จากการให้สินเชื่อที่ให้กับรัฐบาล องค์การของรัฐบาล หนี้จากการให้สินเชื่อที่รัฐบาลหรือองค์การของรัฐบาลเป็นผู้ค้ำประกัน หนี้จากการให้สินเชื่อระหว่างสำนักงานใหม่กับสาขาหรือระหว่างสาขาด้วยกัน หนี้จากการให้สินเชื่อระหว่างสถาบันการเงินหรือระหว่างบริษัทหรือห้าวหุ้นส่วนนิติบุคคลในเครือเดวกัน และหนี้จากการให้สินเชื่ออื่นที่รัฐมนตรีกำหนดและประกาศในราชกิจจานุเบกษา เงินสำรองดังกล่าวส่วนที่ตั้งเพิ่มขึ้นและได้นำมาถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิหรือขาดทุนสุทธิไปแล้วในรอบบัญชีใดต่อมาหากมีการตั้งเงินสำรองดังกล่าวลดลง ให้นำเงินสำรองส่วนที่ตั้งลดลงซึ่งได้ถือเป็นรายจ่ายไปแล้วนั้นมารวมคำนวณเป็นรายได้ในรอบระยะเวลาบัญชีที่ตั้งเงินสำรองลดลงนั้น
- เงินกองทุน
- รายจ่ายอันมีลักษณะเป็นการส่วนตัว การให้โดยเสน่หาหรือการกุศล
- ค่ารับรองหรือค่าบริการ
- รายจ่ายอันมีลักษณะเป็นการลงทุน
- เบี้ยปรับหรือเงินเพิ่มภาษีอากร ค่าปรับอาญา ภาษีเงินได้ของบริษัท หรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล
- การถอนเงินโดยปราศจากค่าตอบแทนของผู้เป็นหุ้นส่วนในห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล
- เงินเดือนของผู้ถือหุ้นหรือผู้เป็นหุ้นส่วนเฉพาะส่วนที่จ่ายเกินสมควร
- รายจ่ายซึ่งกำหนดเองโดยไม่มีการจ่ายจริงหรือรายจ่ายซึ่งควรจะได้จ่ายในรอบระยะเวลาบัญชีอื่น
- ค่าตอบแทนแก่ทรัพย์สินซึ่งบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลเป็นเจ้าของเองและใช้เอง
- ดอกเบี้ยที่คิดให้สำหรับเงินทุน เงินสำรองต่างๆ หรือเงินกองทุนของตนเอง
- ผลเสียหายอันอาจได้กลับคืน เนื่องจากการประกันหรือสัญญาคุ้มกันใดๆหรือผลขาดทุนสุทธิในรอบระยะเวลาบัญชีก่อนๆ
- รายจ่ายซึ่งมิใช่รายจ่ายเพื่อหากำไรหรือเพื่อกิจการโดยเฉพาะ
- รายจ่ายซึ่งมิใช่รายจ่ายเพื่อกิจการในประเทศไทยโดยเฉพาะ
- ค่าซื้อทรัพย์สินและรายจ่ายเกี่ยวกับการซื้อ หรือขายทรัพย์สินในส่วนที่เกินปกติโดยไม่มีเหตุผลอันสมควร
- ค่าของทรัพยากรธรรมชาติที่สูญหรือสิ้นไปเนื่องจากกิจการที่ทำ
- ค่าของทรัพย์สินนอกจากสินค้าที่ตีราคาต่ำลง ทั้งนี้ภายใต้บังคับมาตรา 65 ทวิ
- รายจ่ายซึ่งผู้จ่ายพิสูจน์ไม่ได้ว่าใครเป็นผู้รับ
- รายจ่ายใดๆที่กำหนดจ่ายจากผลกำไรที่ได้เมื่อสิ้นสุดรอบระยะบัญชีแล้ว
- รายจ่ายที่มีลักษณะทำนองเดียวกันที่ระบุไว้ใน 1-2 ซึ่งจะกำหนดโดยพระราชกฤษฎีกา
- เงินสำรองต่างๆ นอกจาก
- รายได้เงินปันผล
- หลักเกณฑ์ในการคำนวณกำไรสุทธิของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลจะต้องนำรายได้มาหักออกจากค่าใช้จ่ายเพื่อคำนวณหากำไรหรือขาดทุนสุทธิของกิจการในการเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล ในส่วนของรายได้ที่เกิดจากกิจการจะต้องนำไปคำนวณกำไรสุทธิ แต่ในประมูลรัษฎากรได้กำหนดให้มีรายได้ส่วนที่ได้รับการลดหย่อนหรือยกเว้นภาษีไว้ซึ่งผู้วางแผนภาษีจะต้องระมัดระวังในกรนำรายได้ดังกล่าวไปประกอบการคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล ดังนั้นรายได้ส่วนที่ได้รับการลดหย่อนหรือยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลที่จะต้องนำไปพิจารณาเพื่อประโยชน์ในการวางแผนภาษีเช่น
- บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศ
- ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้นิติบุคคลจากกำไรสุทธิ ได้แก่
- ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้จากกำไรสุทธิ
- สำหรับบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลทั่วไป
- การเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลจะคำนวณจากฐานภาษีของเงินได้นิติบุคคล ซึ่งก็คือ ”กำไร (ขาดทุน) สุทธิ” ในหลักเกณฑ์ของการคำนวณกำไรสุทธิ กิจการจะต้องนำรายได้ทั้งหมดที่เกิดจากการดำเนินงานมาหักออกจากค่าใช้จ่ายทั้งหมด ผลแตกต่างที่เกิดขึ้นจะออกมาในรูปของกำไรหรือขาดทุนสุทธิทางบัญชี กิจการจะต้องนำ “กำไรทางบัญชี” มาปรับปรุงให้เป็น “กำไรทางภาษีอากร” เพื่อนำไปคำนวณเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล อัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลที่จะนำไปคำนวณกำไรหรือขาดทุนสุทธิเพื่อเสียภาษีนั้นโดยปกติมีดังนี้
การยื่นแบบแสดงรายการและชำระภาษี
บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคลคลที่เสียภาษีเงินได้จากกำไรสุทธิจะต้องยื่นแบบแสดงรายการและชำระภาษีดังนี้
-
- ภ.ง.ด.51 ภายใน 2 เดือน นับจากวันสุดท้ายของ 6 เดือนแรกของรอบระยะเวลาบัญญชี สำหรับภาษีเงินได้นิติบุคคลครึ่งรอบระยะเวลาบัญชี
- ภ.ง.ด.50 ภายใน 150 วัน นับแต่วันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชี สำหรับการเสียภาษีเงินได้จากกำไรสุทธิเมื่อสื้นรอบระยะเวลาบัญชี
ผู้ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล
บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลบางรายเข้าลักษณะที่จะต้องเสียภาษีเงินได้แต่ได้มีบทบัญญัติยกเว้นภาษีให้ คือ
-
- บุคคลตามข้อผูกพันที่ประเทศไทยมีอยู่ตามสัญญา ว่าด้วยความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างรัฐบาลไทยกับรัฐบาลต่างประเทศการยกเว้นเช่นนี้ต้องเป็นไปตามข้อตกลงระหว่างรัฐบาลไทยกับรัฐบาลต่างประเทศจะยกเว้นให้แก่ใครบ้าง
- บุคคลตามสัญญาว่าด้วยการเก็บภาษีซ้อนที่รัฐบาลไทยได้ทำไว้รัฐบาลไทยได้ทำสัญญากับรัฐบาลต่างประเทศเพื่อป้องกันมิให้มีการเก็บภาษีซ้อน ถ้ามิได้มีสัญญาดังกล่าว บุคคลนั้นอาจต้องเสียภาษีอากรให้แก่ประเทศทั้งสองโดยเต็มอัตรา
- มูลนิธิหรือสมาคมที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังประกาศกำหนดให้เป็นองค์การหรือสาธารณกุศล
- การยกเว้นตามพระราชบัญญัติภาษีเงินได้ปิโตรเลียม
- ยกเว้นเงินได้เกี่ยวข้องกับกฎหมายส่งเสริมการลงทุนดังนี้
- ในกรณีบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลได้รับการส่งเสริมการลงทุนตามพระราชบัญญัติส่งเสริมการลงทุนจะดัรับยกเว้นภาษีเงินได้ รายได้จากการประกอบกิจการรวมถึงรายได้จากการจำหน่ายผลพลอยได้และรายได้จากการจำหน่ายสินค้ากึ่งสำเร็จรูปตามที่คณะกรรมการพิจารณาเห็นสมควร บริษัทจะต้องจัดทำบัญชีแยกกันแล้วคำนวณกำไรสุทธิของแต่ละกิจการและไม่มีหลักเกณฑ์อื่นที่จะเฉลี่ยรายจ่ายนั้นได้เป็นการเหมาะสมแล้ว ก็ให้คิดตามส่วนเฉลี่ยของรายได้แต่ละกิจการ แต่อย่างไรก็ตาม หากมีการเฉลี่ยรายจ่ายดังกล่าวและให้บริษัทไปตกลงกับเจ้าพนักงานประเมินก่อน
- บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ได้รับเงินจากกิจการที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนจะได้รับการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลดังนี้
- ค่าแห่งกู๊ดวิลล์ ค่าแห่งลิขสิทธิ์ หรือสิทธิอย่างอื่นจากผู้ได้รับการส่งเสริมตามสัญญาที่ดัรับความเห็นชอบจากคณะกรรมการให้รับการยกเว้นไม่ต้องรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลมีกำหนดระยะเวลา 5 ปี นับแต่วันที่ผู้ดัรับการส่งเสริมเริ่มมีรายได้จากการประกอบกิจการที่ได้รับการส่งเสริม
- เงินปันผลจากกิจการที่ได้รับจากการส่งเสริมการลงทุนซึ่งได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลให้ได้รับยกเว้น
- ยกเว้นภาษีเงินได้ของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลเป็นจำนวนร้อยละ 50ของรายจ่ายได้จ่ายไปเป็นค่าจ้างเพื่อทำการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีให้แก่หน่วยงานของรัฐหรือเอกชน
- ยกเว้นภาษีเงินได้ สำหรับผู้บริจาคเงินหรือทรัพย์สินให้แก่กองทุนเพื่อโครงการอาหารกลางวันในโรงเรียนประถมศึกษา
- ยกเว้นภาษีเงินได้สำหรับกรณีที่มีการบริจาคหรือเข้าร่วมโครงการ
- ยกเว้นภาษีเงินได้สำหรับเงินรางวัลสลากบำรุงมูลนิธิโรคไตแห่งประเทศไทย
- ยกเว้นภาษีเงินได้สำหรับเงินรางวัลและเงินได้จากการขายหรือส่วนลดจากการซื้อสลากกินแบ่งกีฬาซีเกมส์
- ยกเว้นภาษีเงินได้สำหรับเงินรางวัลสลากการกุศลสภาสังคมสงเคราะห์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์และเงินได้จากการขายหรือส่วนลดจากการซื้อสลาก
- ยกเว้นภาษีเงินได้สำหรับเงินรางวัลสลากบำรุงมูลนิธิอนุรักษ์และพัฒนาอากาศยานไทยในพระราชูปถัมภ์ ทั้งนี้สำหรับฉลากสามงวดแรกที่ออกรางวัลภายในวันที่ 31 ธันวาคม 2537
- ยกเว้นภาษีเงินได้สำหรับเงินได้ที่คำนวณได้จากการโฮนทรัพย์สิน การรับโอนทรัพย์สิน กิจการประกันวินาศภัยออกจากกัน
- ยกเว้นภาษีเงินได้สำหรับกำไรสุทธิของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ได้จากการประกอบกิจการสถานศึกษา และที่ได้จากการประกอบกิจการสถานฝึกอบรมหรือของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลในเครือเดวกันและสำหรับเงินปันผลหรือเงินส่วนแบ่งกำไรของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล
สถานที่ยื่นแบบแสดงรายการและชำระภาษีอากร
- เขตกรุงเทพมหานคร ให้ยื่น ณ
- ที่ว่าการอำเภอเขตท้องที่ที่สำนักงานใหญ่ตั้งอยู่
- ธนาคารพาณิชย์ที่กรมสรรพากรกำหนดให้เป็นสถานที่ยื่นแบบ
- เขตจังหวัดอื่น
- ให้ยื่น ณ ที่ว่าการอำเภอหรือกิ่งอำเภอที่ตั้งสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่