- ภาษีทางตรง เป็นภาษีที่เรียกเก็บโดยตรงจากผู้มีเงินได้พึงประเมินจะประกอบไปด้วยภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา และภาษีเงินได้นิติบุคคล ซึ่งมีเครื่องมือที่สำคัญในการควบคุมการเสียภาษีเงินได้คือ ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย
- ภาษีทางอ้อม เป็นภาษีเรียกเก็บจากผู้บริโภค
หรือภาษีที่มีผู้ขายผลักภาระให้กับผู้ซื้อเป็นผู้ชำระหรือรับภาระภาษีอากรแทนผู้ขาย
ประกอบด้วยภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีธุรกิจเฉพาะ และอากรแสตมป์ เมื่อภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายเป็นเครื่องมือทางภาษีในการตรวจสอบผู้มีเงินได้ว่าได้เสียภาษีครบถ้วนถูกต้องหรือไม่ กรมสรรพากรได้กำหนดหลักเกณฑ์ในการหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายหากเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดตามประมวลรัษฎากร
- ผู้เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ได้แก่
- บุคคลธรรมดา
- ผู้ตายระหว่งปีภาษี
- กองมรดกที่ยังไม่ได้แบ่ง
- ห้างหุ้นส่วนสามัญที่มิใช่นิติบุคคล
- ผู้เสียภาษีเงินได้นิติบุคคล
- บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย
- บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศ
- กิจการซึ่งดำเนินการเป็นทางการค้าหรือหากำไรโดยรัฐบาล องค์กรของรัฐบาลหรือนิติบุคคลอื่นที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศ
- กิจกรรมร่วมค้า
- มูลนิธ หรือ สมาคม
- ผู้เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ได้แก่
ภาษีหัก ณ ที่จ่ายถือเป็นเครื่องมือทางภาษาอากรชนิดหนึ่งที่จะควบคุมผู้มีเงินได้ มาว่าจะเป็นบุคคลธรรมดา หรือนิติบุคคลว่าได่เสียภาษีและนำส่งกรมสรรรพากรภายในวันที่7ของเดือนถัดไป ดังนั้นภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายจะแบ่งออกเป็น
- ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่าย (มาตรา50)
- ภาษีเงินได้นิติบุคคลหัก ณ ที่จ่าย
- ตามมาตรา 3 เตรส
- ตามมาตรา 69 ทวิ
- ตามมาตรา 69 ตรี
- การจ่ายเงินตามมาตรา 70
- การจ่ายเงินกำไรตามมาตรา 70 ทวิ
ประเภทของเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40
เงินได้พึงประเมินตามประมวลรัษฎากรที่จะต้องเสียภาษีเงินได้ตามมาตรา 40 แห่งประมวลรัษฎากร จะแบ่งประเภทของเงินได้พึงประเมินดังนี้
- มาตรา 40 (1) เงินได้เนื่องจากจ้างแรงงานดังนี้
- เงินเดือน ค่าจ้าง เบี้ยงเลี้ยง โบนัส เบี้ยหวัด บำเหน็จ บำนาญ
- เงินค่าเช่าบ้านที่นายจ้างจ่ายให้
- เงินที่คำนวณได้จากมูลค่าของการได้อยู่บ้านที่นายจ้างให้อยู่โดยไม่เสียค่าเช่า
- เงินที่นายจ้างจ่ายชำระหนี้ใดๆซึ่งลูกจ้างมีหน้าที่ต้องชำระ
- เงิน ทรัพย์สิน หรือประโยชน์ใดๆ บรรดาที่ได้เนื่องจากการจ้างแรงงาน
- มาตรา 40 (2) เงินได้เนื่องจากหน้าที่หรือตำแหน่งงานที่ทำหรือจากการรับทำงานให้ มีดังนี้.
- ค่าธรรมเนียม ค่านายหน้า ค่าส่วนลด
- เงินอุดหนุนในงานที่ทำ เบี้ยประชุม บำเหน็จ โบนัส
- เงินค่าเช่าบ้านที่ผู้จ่ายเงินได้จ่ายให้ เงินที่คำนวณได้จากมูลค่าของการได้อยู่บ้านที่ผู้จ่ายเงินได้ให้อยู่โดยไม่เสียค่าเช่า
- เงินที่ผู้จ่ายเงินได้จ่ายชำระหนี้ใดๆซึ่งผู้มีเงินได้มีหน้าที่ต้องชำระ
- เงิน ทรัพย์สิน หรือประโยชน์ใดๆบรรดาที่ได้เนื่องจากหน้าที่หรือตำแหน่งงานที่ทำหรือจากการรับทำงานให้นั้น ไม่ว่าหน้าที่หรือตำแหน่งงาน หรืองานที่รับทำให้นั้นจะเป็นประจำหรือชั่วคราว
- มาตรา 40 (3) ค่าแห่งกู๊ดวิลล์ ค่าแห่งลิขสิทธิ์หรือสิทธิอย่างอื่น เงินปี หรือเงินได้มีลักษณะเป็นเงินรายปีอันได้มาจากพินัยกรรมอย่างอื่น หรือคำพิพากษาของศาล
- มาตรา 40 (4) ดอกเบี้ย เงินปันผล หรือเงินได้อื่นอันมีลักษณะทำนองเดียวกัน แบ่งออกเป็น
- (ก) ดอกเบี้ยพันธบัตร ดอกเบี้ยเงินฝาก ดอกเบี้ยหุ้นกู้ ดอกเบี้ยตั๋วเงิน ดอกเบี้ยเงินกู้ยืมไม่ว่าจะมีหลักประกันหรือไม่ ดอกเบี้ยเงินกู้ยืมที่อยู่ในบังคับต้องถูกหักภาษีไว้ ณ ที่จ่ายตามกฎหมายว่าด้วยภาษีเงินได้ปิโตรเลียมเฉพาะส่วนที่เหลือจากถูกหัก ณ ที่จ่ายตามกฎหมายดังกล่าว หรือผลต่างระหว่างราคาไถ่ถอนกับราคาจำหน่ายตั๋วเงินหรือตราสารแสดงสิทธิในหน้ที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลหรือนิติบุคคลอื่นเป็นผู้ออก และจำหน่ายครั้งแรกในราคาต่ำกว่าราคาไถ่ถอน รวมทั้งเงินได้ที่มีลักษณะทำนองเดียวกันกับดอกเบี้ย ผลประโยชน์ หรือค่าตอบแทนอื่นๆที่ได้จากการให้กู้ยืมหรือจากสิทธิเรียกร้องในหนี้ทุกชนิดไม่ว่าจะมีหลักประกันหรือไม่ก็ตาม ในกรณีที่ผู้ถือตั๋วเงินหรือตราสารแสดงสิทธิในหนี้ ได้โอนเปลี่ยนมือก่อนวันครบกำหนดตามสัญญาให้เงินได้พึงประเมินเฉพาะที่เป็นผลประโยชน์ที่ได้จากการโอนตั๋วเงินหรือตราสารแสดงสิทธิในหนี้ที่ไม่มีดอกเบี้ยเพียงอย่างเดว เป็นเงินได้พึงประเมินที่ได้รับยกเว้นไม่ต้องรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้(กฎกระทรวง ฉบับที่ 223 พ.ศ.2542 ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 5 สิงหาคม 2542) ดอกเบี้ยบางประเภทกฎหมายได้กำหนดเงื่อนไขการหักภาษี ณ ที่จ่ายและให้มีสิทธิเลือกเสียภาษีในอัตรา 15% ของเงินได้โดยไม่นำไปรวมคำนวณภาษีกับเงินได้อย่างอื่นก็ได้ สำหรับเงินได้ดังต่อปนี้
- ดอกเบี้ยพันธบัตร ดอกเบี้ยเงินฝากธนาคารในราชอาณษจักร ดอกเบี้ยเงินฝากสหกรณ์ ดอกเบี้ยหุ้นกู้ ดอกเบียตั๋วเงินที่ได้จากบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลหรือนิติบุคคลอื่น ดอกเบี้ยเงินกู้ยืมที่ได้จากบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลหรือนิติบุคคลหรือนิติบุคคลอื่นดอกเบี้ยที่ได้จากสถาบันการเงินที่มีกฎหมายโดยเฉพาะของประเทศไทยจัดตั้งขึ้นสำหรับให้กู้ยืมเงินเพื่อส่งเสริมเกษตรกรรม พาณิชยกรรม หรืออุตสาหกรรม เช่น บรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร
- ผลต่างระหว่างค่าไถ่ถอนกับราคาจำหน่ายตั๋วเงิน หรือตราสารแสดงสิทธิในหนี้ที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลหรือนิติบุคคลอื่นเป็นผู้ออกและมีการจำหน่ายครั้งแรกต่ำกว่าราคาไถ่ถอน และผู้มีเงินได้เป็นผู้ทรงคนแรก
- (ข) เงินปันผล เงินส่วนแบ่งกำไร หรือประโยชน์อื่นใดที่ได้จากษริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล กองทุนรวม (ที่เป็นคณะบุคคล) หรือสถาบันการเงินที่มีกฎหมายโดยเฉพาะของประเทศไทย จัดตั้งขึ้นสำหรับให้กู้ยืมเงินเพื่อส่งเสริมเกษตรกรรม พาณิชยกรรม หรืออุตสาหกรรม เช่น บรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร เงินปันผลหรือเงินส่วนแบ่งของกำไรที่อยู่ในบังคับต้องถูกหักภาษีไว้ ณ ที่จ่าย ตามกฎหมายว่าด้วยภาษีเงินได้ปิโตรเลียมเฉพาะส่วนที่เหลือจากถูกหักภาษีไว้ ณ ที่จ่าย ในกรณีที่บุตรชอบด้วยกฎหมายหรือบุตรบุญธรรมที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะเป็นผู้มีเงินได้จากเงินปันผลนี้ และความเป็นสามีภริยาของบิดาและมารดาได้มีอยู่ตลอดปีภาษีให้ถือว่าเงินได้ของบุตรดังกล่าวเป็นเงินได้ของบิดา แต่ถ้าความเป็นสามีภริยาของบิดาและมารดามิได้มีอยู่ตลอดปีภาษี ให้ถือว่าเงินได้ของบุตรดังกล่าวเป็นเงินได้ของบิดามารดาผู้ใช้อำนาจปกครอง หรือของบิดามารดาใช้อำนาจปกครองร่วมกัน เงินปันผลหรือเงินส่วนแบ่งกำไรที่ได้รับจากบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย ถ้ามีเงินได้เป็นภูมิลำเนาอยู่ในประเทศไทย หรือเป็นผู้อยู่ในประเทศไทยจะได้รับเครดิตในการคำนวณภาษี ให้คูณด้วยจำนวณเงินปันผลหรือเงินส่วนแบ่งของกำไรที่ได้รับผลลัพธ์ที่ได้เป็นเครดิตในการคำนวณภาษี ข้อสังเกต ผู้มี้เงินได้ซึ่งเป็นผู่อยู่ในประเทศไทยมีเงินได้จะเลือกเสียภาษีโดยไม่ต้องนำไปรวมกับเงินได้อย่างอื่น สำหรับเงินปันผลที่ได้รับจากบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย กองทุนรวม (ที่เป็นคณะบุคคล)หรือสถาบันการเงิน ที่มีกฎหมายโดยเฉพราะของประเทศไทยจัดตั้งขึ้น สำหรับให้กู้ยืมเงินเพื่อส่งเสริมเกษตรกรรม พาณิชยกรรม หรืออุตสาหกรรมจะเลือกเสียภาษีในอัตรา 10% ของเงินได้โดยไม่นำไปรวมคำนวณภาษีกับเงินได้อย่างอื่น
- (ค) เงินโบนัสที่จ่ายให้ผู้ถือหุ้น หรือผู้เป็นหุ้นส่วนในบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล
- (ง) เงินลดทุนของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล เฉพาะส่วนที่จ่ายไม่เกินกว่ากำไรและเงินที่กันไว้รวมกัน
- (จ) เงินเพิ่มทุนของบริษัทหรือหางหุ้นส่วนนิติบุคคล ซึ่งตั้งจากกำไรที่ได้มาหรือเงินกันไว้รวมกัน
- (ฉ) ผลประโยชน์ที่ได้รับจากการที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลควบเข้ากันหรือรับช่วงกัน หรือเลิกกัน ซึ่งตีราคาเป็นเงินได้เกินกว่าเงินทุน
- (ช) ผลประโยชน์ที่ได้จากการโอนการเป็นหุ้นส่วนหรือโอนหุ้น หุ้นกู้พันธบัตรหรือตั๋วเงิน หรือตราสารแสดงสิทธิในหนี้ที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลหรือนิติบุคคลอื่นเป็นผู้ออก ทั้งนี้เฉพราะที่ตีราคาเป็นเงินได้เกินกว่าที่ลงทุน และเงินได้ตามมารตรา 40 (4) (7) นี้ผู้มีเงินได้จะเลือกเสียภาษีในอัตราร้อยละ 15 ของเงินได้โดยไม่ต้องไปรวมคำนวณภาษีกับเงินได้อย่างอื่นก็ได้
- (ก) ดอกเบี้ยพันธบัตร ดอกเบี้ยเงินฝาก ดอกเบี้ยหุ้นกู้ ดอกเบี้ยตั๋วเงิน ดอกเบี้ยเงินกู้ยืมไม่ว่าจะมีหลักประกันหรือไม่ ดอกเบี้ยเงินกู้ยืมที่อยู่ในบังคับต้องถูกหักภาษีไว้ ณ ที่จ่ายตามกฎหมายว่าด้วยภาษีเงินได้ปิโตรเลียมเฉพาะส่วนที่เหลือจากถูกหัก ณ ที่จ่ายตามกฎหมายดังกล่าว หรือผลต่างระหว่างราคาไถ่ถอนกับราคาจำหน่ายตั๋วเงินหรือตราสารแสดงสิทธิในหน้ที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลหรือนิติบุคคลอื่นเป็นผู้ออก และจำหน่ายครั้งแรกในราคาต่ำกว่าราคาไถ่ถอน รวมทั้งเงินได้ที่มีลักษณะทำนองเดียวกันกับดอกเบี้ย ผลประโยชน์ หรือค่าตอบแทนอื่นๆที่ได้จากการให้กู้ยืมหรือจากสิทธิเรียกร้องในหนี้ทุกชนิดไม่ว่าจะมีหลักประกันหรือไม่ก็ตาม ในกรณีที่ผู้ถือตั๋วเงินหรือตราสารแสดงสิทธิในหนี้ ได้โอนเปลี่ยนมือก่อนวันครบกำหนดตามสัญญาให้เงินได้พึงประเมินเฉพาะที่เป็นผลประโยชน์ที่ได้จากการโอนตั๋วเงินหรือตราสารแสดงสิทธิในหนี้ที่ไม่มีดอกเบี้ยเพียงอย่างเดว เป็นเงินได้พึงประเมินที่ได้รับยกเว้นไม่ต้องรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้(กฎกระทรวง ฉบับที่ 223 พ.ศ.2542 ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 5 สิงหาคม 2542) ดอกเบี้ยบางประเภทกฎหมายได้กำหนดเงื่อนไขการหักภาษี ณ ที่จ่ายและให้มีสิทธิเลือกเสียภาษีในอัตรา 15% ของเงินได้โดยไม่นำไปรวมคำนวณภาษีกับเงินได้อย่างอื่นก็ได้ สำหรับเงินได้ดังต่อปนี้
- มาตรา 40 (5) เงินหรือประโยชน์อย่างอื่นที่ได้เนื่องจาก
- การให้เช่าทรัพย์สิน
- การผิดสัญญาเช่าซื้อทรัพย์สิน
- การผิดสัญญาซื้อขายเงินผ่อน ซึ่งผู้ขายได้รับคืนทรัพย์ที่ซื้อขายนั้นโดยไม่ต้องคืนเงินหรือประโยชน์ที่ได้รับไว้แล้ว
- ในกรณีตาม (1) ถ้าเจ้าพนักงานประเมินมีเหตุอันสมควรเชื่อว่าผู้มีเงินได้แสดงเงินได้ต่ำไปไม่ถูกต้องตามความเป็นจริง เจ้าพนักงาประเมินมีอำนาจประเมินเงินได้นั้นตามจำนวนเงินที่ทรัพย์สินนั้นสมควรให้เช่าได้ตามปกติ ในกรณีนี้จะอุทธรณ์การประเมินก้อได้ ทั้งนี้ให้นำบทบัญญัติว่าด้วยการอุทธรณ์ตามประมวลรัษฏากรมาใช้บังคับโยอนุโลม ในกรณี (2) (3)ให้ถือว่าเงินหรือประโยชน์ที่ได้รับแล้วต่วันทำสัญญาจนถึงวันผิดสัญญาทั้งสิ้น เป็นเงินได้พึ่งประเมินของปีที่มีการผิดสัญญานั้น
- มาตรา 40 (6) เงินได้จากวิชาชีพอิสระ คือวิชากฎหมาย การประกอบโรคศิลปะ วิศวกรรม สถาปัตยกรรม การบัญชี ประณีตศิลปกรรม หรือวิชาชีพอิสระอื่นซึ่งจะมีพระราชกฤษฎีกากำหนดชนิดไว้
- มาตรา 40 (7) เงินได้จากการรับเหมาต้องลงทุนด้วยการจัดหาสัมภาระในว่วนสำคัญนอกจากเครื่องมือ
- มาตรา 40 (8) เงินได้จากการประกอบธุรกิจ กาพาณิชย์ การเกษตร การอุตสาหกรรม การขนส่ง การขายอสังหาริมทรัพย์ หรือการอื่นนอกจากที่ระบุไว้ในเงินได้มาตรา 40 (1) – (7)
ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่าย
การหักภาษี ณ ที่จ่ายตามมาตรา 50 ได้กำหนดให้บุคคล ห้างหุ้นส่วน บริษัทสมาคม หรือคณะบุคคลผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 หักภาษีเงินได้ไว้ทุกคราวที่จ่ายเงินได้พึงประเมินให้แก่บุคคลธรรมดา เงินได้พึงประเมินตามประมวลรัษฏากรมาตรา 40 คือเงินได้ต่อไปนี้และรวมถึงเงินค่าภาษีอากรที่ผู้จ่ายหรือผู้อื่นออกแทนให้ ดังนั้นเงินได้ของบุคคลธรรมดาได้กำหนดไว้ดังนี้
- เงินได้เนื่องจากการจ้างแรงงานไม่ว่าจะเป็น เงินเดือน ค่าจ้าง เบี้ยเลี้ยง โบนัส เบี้ยหวัด บำเหน็จ บำนาญ เงินค่าเช่าบ้าน
- เงินได้เนื่องจากหน้าที่หรือตำแหน่งงานที่ทำ หรือจากการรับทำงานให้ไม่ว่าจะเป็น ค่าธรรมเนียม ค่านายหน้า ค่าส่วนลด เงินหนุนในงานที่ทำ เบี้ยประชุมบำเหน็จ โบนัส เงินค่าเช่าบ้าน เงินที่คำนวณได้จากมูลค่าของการได้อยู่บ้านที่ผู้จ่ายเงินได้ให้อยู่โดยไม่เสียค่าเช่า
- ค่าแห่งกู๊ดวิลล์ ค่าแห่งลิขสิทธิ์หรือสิทธิอย่างอื่น เงินปี หรือเงินได้มีลักษณะเป็นเงินรายปีอันได้มาจากพินัยกรรม
- เงินได้ที่เป็น
- ดอกเบี้ยพ้นธบัตร ดอกเบี้ยเงินฝาก ดอกเบี้ยหุ้นกู้ รวมทั้งเงินได้ที่มีลักษณะทำนองเดียวกันกับดอกเบี้ย ผลประโยชน์หรือค่าตอบแทนอื่นๆที่ได้จากการให้กู้ยืมหรือจากสิทธิเรียกร้องในหนี้ทุกชนิดไม่ว่าจะมีหลักประกันหรือไม่ก็ตาม
- เงินปันผล เงินปันผลหรือเงินส่วนแบ่งของกำไรที่อยู่ในบังคับต้องถูกหักภาษีไว้ ณ ที่จ่ายตามกฎหมายว่าด้วยภาษีเงินได้ปิโตเลียมเฉพราะส่วนที่เหลือจากถูกหักภาษีไว้ ณ ที่จ่ายตามกฎหมาย
- เงินโบนัสที่จ่ายแก่ผู้ถือหุ้น หรือผู้เป็นหุ้นส่วนในบริษัท หรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล
- เงินลงทุนของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลเฉพราะส่วนที่จ่ายไม่เกินกว่ากำไร และเงินที่กันไว้รวมกัน
- เงินเพิ่มทุนของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลซึ่งตั้งจากกำไรที่ได้มาหรือเงินได้ที่กันไว้รวมกัน
- ผลประโยชน์ที่ได้จากการที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลควบเข้ากันหรือรับช่วงกัน หรือเลิกกัน ซึ่งตีราคาเป็นเงินได้เกินกว่าเงินทุน
- ผลประโยชน์ที่ได้จากการโอนการเป็นหุ้นส่วนหรือโอนหุ้น หุ้นกู้ พันธบัตรหรือตั๋วเงิน ทั้งนี้เฉพาะซึ่งตีราคาเป็นเงินได้เกินกว่าที่ลงทุน
- เงินหรือประโยชน์อย่างอื่นที่ได้เนื่องจาก
- การให้เช่าทรัพย์สิน
- การผิดสัญญาเช่าซื้อทรัพย์สิน
- การผิดสัญญาซื้อขายเงินผ่อน ซึ่งผู้ขายได้รับคืนทรัพย์สินที่ซื้อขายนั้นโดยไม่ต้องคืนเงินหรือประโยชน์ที่ได้รับไว้แล้ว
- เงินได้จากวิชาชีพอิสระ คือ วิขากฎหมาย การประกอบโรคศิลปะ วิศวกรรม สถาปัตยกรรม การบัญชี หรือวิชาชีพอิสระอย่างอื่น
- เงินได้รับจากการรับเหมาที่ผู้รับเหมาต้องลงทุนด้วยการจัดหาสัมภาระในส่วนสำคัญนอกจากเครื่องมือ
- เงินได้จากการธุรกิจ การพาณิชย์ การเกษตร การขนส่ง (หรือการอื่นนอกจากที่ระบุไว้ในข้อ1-7)
การหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายในกรณีที่ผู้ได้รับเป็นบุคคลธรรมดาจะต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์โดยกำหนดให้บุคล ห้างหุ้นส่วน บริษัท สมาคม หรือคณะบุคคลผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 หักภาษีเงินได้ไว้ทุกคราวที่จ่ายเงินได้พึงประเมินตามวิธีดังต่อไปนี้
(1) ในกรณีเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (1) และ (2) ให้คูณเงินได้พึงประเมินที่จ่ายด้วยจำนวนคราวที่จะต้องจ่าย เพื่อให้ได้จำนวนเงินเสมือนหนึ่งว่าได้จ่ายทั้งปี แล้วคำนวณภาษีตามเกณฑ์ในมาตรา 48 เป็นเงินภาษีทั้งสิ้นเท่าใดให้หารด้วยจำนวนคราวที่จะต้องจ่าย ได้ผลลัพธ์เป็นเงินเป็นเท่าใดให้หักเป็นเงินภาษีไว้เท่านั้น
การคำนวณภาษีหัก ณ ที่จ่าย ตามมาตรา 50 (1) แห่งประมวลรัษฎากรสำหรับการจ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (1) แห่งประมวลรัษฎากรสำหรับการจ่ายเงินได้ซึ่งเข้าทำงานระหว่างปี ให้คูณเงินได้พึงประเมินที่จ่ายด้วยจำนวนคราวที่จะต้องจ่ายจริงสำหรับปีภาษีนั้น เช่น เข้าทำงานในวันที่ 1 ตุลาคมของปีภาษีและกำหนดจ่ายค่าจ้างเป็นรายเดือนจำนวนคราวที่จะต้องจ่ายจิงในปีภาษีนั้น เท่ากับ 3 คราว ดังนั้น จึงคูณเงินได้พึงประเมินที่จ่ายด้วย 3 ได้จำนวนเงินได้พึงประเมินเท่าใดให้คำนวณภาษีตามเกณฑ์ในมาตรา 48 แห่งประมวลรัษฎากรเป็นภาษีทั้งสิ้นเท่าใดให้หารด้วยจำนวนคราวที่จะต้องจ่ายไม่ลงตัวให้เพิ่มเงินเท่าจำนวนที่เหลือเศษนั้นรวมเข้ากับเงินภาษีที่จะต้องหักไว้ครั้งสุดท้ายในปีนั้น
การคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่ายตามมาตรา 50 (1) แห่งประมวลรัษฎากร กรณีการจ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (1) แห่งรัษฎากร ดังนี้
- การคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่าย ตามมาตรา 50 (1) แห่งประมวลรัษฎากร กรณีการจ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (1) แห่งประมวลรัษฎากร แต่ไม่รวมถึงเงินได้ที่นายจ้างจ่ายให้ครั้งเดียวเพราะเหตุออกจากงานให้ปฏิบัติดังนี้
- (1) ให้คำนวณหาจำนวนเงินได้พึงประเมินเสมือนหนึ่งว่าได้จ่ายทั้งปี โดยให้นำเงินได้พึงประเมินที่จ่ายแต่ละคราวคูณด้วยจำนวนคราวที่จะต้องจ่าย (ต่อปี) ดังนี้
- (ก) กรณีจ่ายค่าจ้างเป็นรายเดือนให้คูณด้วย 12
- (ข) กรณีจ่ายค่าจ้างเดือนละ 2 ครั้งให้คูณด้วย 24
- (ค) กรณีจ่ายค่าจ้างเป็นรายสัปดาห์ให้คูณด้วย 52
- ให้นำจำนวนเงินได้พึงประเมินเสมือนหนึ่งว่าได้จ่ายทั้งปีตาม (1) มาคำนวนภาษีตามเกณฑ์ในมาตรา 48 (1) แห่งประมวลรัษฎากร กล่าวคือ นำมาหักค่าใช้จ่ายค่าลดหย่อน และคำนวณภาษีตามบัญชีอัตราภาษีเงินได้สำหรับบุคคลธรรมดาเป็นเงินภาษีทั้งสิ้น กรณีผู้มีเงินได้ได้แจ้งเปลี่ยนแปลงรายการค่าลดหย่อนระหว่างปี ให้คำนวณหักค่าลดหย่อนตามที่ผู้มีเงินได้ได้แจ้งการเปลี่ยนแปลงนั้น
- (3) ให้นำจำนวนเงินภาษีทั้งสิ้นที่คำนวณได้ตาม (2) มาหารด้วยจำนวนคราวที่จะต้องจ่าย (ต่อปี) ตาม (1) ได้ผลลัพธ์เป็นเงินเท่าใดให้หักเป็นเงินภาษี ณ ที่จ่าย ในแต่ล่ะคราวที่จ่ายเงินนั้น
- (4) กรณีมีการเปลี่ยนแปลงจำนวนเงินได้พึงประเมินที่จ่ายระหว่างปี ให้คำนวณภาษีหัก ณ ที่จ่ายใหม่ทุกคราว ตามวิธีการตาม (1) – (3)
- (5) กรณีการจ่ายเงินพิเศษเป็นครั้งคราวระหว่างปี เช่น ค่าล่วงเวลา เงินโบนัส ให้นำเงินพิเศษนั้นคูณด้วยจำนวนคราวที่ต้องจ่าย (ต่อปี) เพื่อหาจำนวนเงินพิเศษเสมือนหนึ่งว่าได้จ่ายทั้งปี และให้นำมารวมเข้ากับเงินได้พึงประเมินที่จ่ายตามปกติที่คำนวณได้เสมือนหนึ่งว่าได้จ่ายทั้งปี
- (6) กรณีมีการจ่ายเงินได้พึงประเมินที่ไม่สามารถคำนวณหาจำนวนคราวที่จะต้องจ่าย (ต่อปี) ให้คำนวณภาษีจากเงินได้พึงประเมินที่จ่ายแต่ละคราวตามเกณฑ์ในมาตรา 48 (1) แห่งประมวลรัษฏากร ได้ผลลัพธ์เป็นเงินเท่าใด ให้หักเป็นเงินภาษีนำส่งไว้เท่านั้น
- (7) กรณีนายจ้างออกเงินค่าภาษีแทนให้ลูกจ้างสำหรับเงินเดือนหรือค่าจ้างที่ลูกจ้างได้รับในปีใด โดยลูกจ้างไม่ต้องรับภาระในการเสียภาษีด้วยตนเองเลยให้นำเงินค่าภาษีที่นายจ้างออกแทนให้ไปรวมกับเงินเดือนหรือค่าจ้างที่ลูกจ้างได้รับในปีนั้น แล้วคำนวณภาษีตามเกณฑ์ในมาตรา 48 (1) แห่งประมวลรัษฎากรจนกว่าจะไม่มีเงินค่าภาษีที่นายจ้างต้องออกแทนให้อีก
- (8) กรณีนายจ้างออกเงินค่าภาษีแทนให้ลูกจ้าง สำหรับเงินเดือนหรือค่าจ้างเป็นจำนวนที่แน่นอน เช่น เท่ากับจำนวนภาษีที่จะต้องชำระ ให้นำเงินค่าภาษีที่นายจ้างออกแทนให้ไปรวมกับเงินเดือนหรือค่าจ้างที่ลูกจ้างได้รับในปีนั้น แล้วคำนวณภาษีตามเกณฑ์ในมาตรา 48 (1) แห่งประมวลรัษฎากร
- (1) ให้คำนวณหาจำนวนเงินได้พึงประเมินเสมือนหนึ่งว่าได้จ่ายทั้งปี โดยให้นำเงินได้พึงประเมินที่จ่ายแต่ละคราวคูณด้วยจำนวนคราวที่จะต้องจ่าย (ต่อปี) ดังนี้
- การคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่ายสำหรับเงินได้พึงประเมินที่จ่ายในเดือนธันวาคมซึ่งเป็นเงินภาษีที่จะต้องหักไว้เป็นครั้งสุดท้ายในปีนั้นให้ผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินมีสิทธิที่จะคำนวนภาษีเพื่อให้ยอดเงินภาษีที่หักเมื่อรวมแล้วเท่ากับจำนวนภาษีที่ผู้มีเงินได้จะต้องเสียภาษีทั้งสิ้น ได้ผลลัพธ์เป็นเงินเท่าใดให้หักและนำส่งไว้เท่านั้น เช่น นาย ก. มีเงินได้พึงประเมินที่จะต้องเสียภาษีทั้งปีจำนวน 20,140 บาท ซึ่งจะถูกหักภาษีไว้เดือนละ 1,678.33 บาท ผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินได้หักภาษี(คำนวณตามข้อ 1 )และนำส่งไว้เดือนละ 928.33 บาท เป็นเวลา 9 เดือน (มกราคม – กันยายน) และเดือนละ 4,315 บาท เป็นเวลา 2เดือน(ตุลาคม-พฤศจิกายน) รวมเป็นเงินภาษีที่หักและนำส่งไว้แล้ว= (928.33 x 9)+(4,315 x 2)=16,984.97 บาท เหลือภาษีที่จะต้องหักและนำส่งในเดือนธันวาคม = 20,0140-16,984.97 = 3,155.03 บาท
ตัวอย่างการคำนวณภาษีหัก ณ ที่จ่าย
1. ประเภทเงินเดือน ค่าจ้าง ค่านายหน้า ค่าบำเหน็จ ฯลฯ
วิธิคำนวณ
- นำเงินได้พึงประเมินที่จะต้องจ่ายเป็นตัวตั้ง
- คูณ จำนวณคราวที่จ่าย
- ผลลัพธ์ คือจำนวนเงินได้เสมือนหนึ่งว่าได้จ่ายทั้งปี
- หัก ค่าใช้จ่ายตามอัตราที่กฎหมายกำหนด
- คงเหลือ เงินได้หลังจากหักค่าใช้จ่าย
- หัก ค่าลดหย่อนต่างๆ
- คงเหลือ เงินได้สุทธิ
- นำเงินได้สุทธิมาคำนวณภาษี ตามอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภาษีที่คำนวณได้คือยอดภาษีรวมทั้งปี
- นำยอดภาษีรวมทั้งปีมาหารด้วยจำนวนคราวที่ต้องจ่าย (จำนวนคราวตาม (2))ผลลัพธ์คือจำนวนเงินภาษีที่ผู้จ่ายเงินได้จะต้องหักไว้ ณ ที่จ่ายในคราวนั้น
กรณีที่จ่ายเงินได้เป็นรายเดือน เดือนล่ะเท่าๆ กันตลอดปีภาษี
ตัวอย่าง 1 ปีภาษี 2555 นาย ก ได้รับเงินเดือน เดือนละ 30000 บาทนาย ก ได้แจ้งสถานะการหักลดหย่อนไว้ดังนี้
ภรรยาไม่มีเงินได้และบุตรกำลังศึกษา 2 คน จะต้องจ่ายเบี้ยประกันชีวิตในเดือนกรกฎาคม 2555 จำนวน 9600 บาท ดอกเบี้ยเงินกู้ยืม ที่จะต้องจ่ายทั้งปีจำนวน 13200 บาท ผู้จ่ายเงินได้จะต้องหักภาษี ณ ที่จ่ายนำส่งแต่ล่ะเดือน ดังนี้
วิธีคำนวณ
เงินเดือนเสมือนหนึ่งว่าได้จ่ายทั้งปี 30000 x 12 = 36000 บาท
หัก ค่าใช้จ่าย (40 % ไม่เกิน 60000 บาท) = 60000 บาท
คงเหลือเงินได้หลังจากหักค่าใช้จ่าย = 300000 บาท
หัก ค่าลดหย่อนส่วนตัว 30000 บาท
ค่าลดหย่อนคู่สมรส 30000 บาท
ค่าลดหย่อนบุตรศึกษา 2 คน 34000 บาท
ค่าลดหย่อนเบี้ยประกันชีวิต 9600 บาท
ค่าลดหย่อนดอกเบี้ยเงินกู้ยืม 13200 บาท = 116800 บาท
คงเหลือเงินได้สุทธิ = 183200 บาท
ภาษีเงินได้ทั้งปี 150000 บาทแรกยกเว้น (33200×10%)
= 3320 บาท
ภาษีหัก ณ ที่จ่ายต่อเดือน 3320 หาร 12 = 276.66 บาท
เหลือเศษ = 0.006 บาท
จำนวนเงินที่เหลือเศษให้รวมกับเงินภาษี
ที่จะต้องหักไว้ครั้งสุดท้ายในเดือนธันวาคม
= 276.66 + (0.006 x 12) = 276.73 บาท
สรุป ผู้จ่ายเงินได้จะต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย ของนาย ก. ในกรณีนี้ ดังนี้
เดือนมกราคมถึงพฤศจิกายน เดือนละ = 276.66 บาท
เดือนธันวาคม = 276.73 บาท
กรณีมีการเปลี่ยนแปลงจำนวนเงินที่จ่ายระหว่างปีภาษี และคำนวณภาษีหัก ณ ที่จ่าย เดือนธันวาคม
ตัวอย่างที่2 จากตัวอย่าง 1 ถ้านาย ก. ได้รับเงินเดือนขึ้นในเดือนตุลาคม 2555 เป็นเดือนละ 60000 บาท ผู้จ่ายเงินได้จะต้องหักภาษี ณ ที่จ่ายประจำเดือนตุลาคม 2555 ดังนี้
วิธีคำนวณ
เงินเดือนเสมือนหนึ่งว่าได้จ่ายทั้งปี 60000 x 12 = 720000 บาท
หัก ค่าใช้จ่าย (40% ไม่เกิน 60000 บาท ) = 60000 บาท
คงเหลือเงินได้หลังหักค่าใช้จ่าย = 660000 บาท
หัก ค่าลดหย่อน (30000 + 30000 + 34000 + 13200 )
= 116800 บาท
คงเหลือเงินได้สุทธิ = 543200 บาท
ภาษีเงินได้ทั้งปี (15000 บาทแรกยกเว้น) + (35000 x 10 %)
+ (43200 x 20 %) = 43640 บาท
ภาษีหัก ณ ที่จ่ายตั้งแต่เดือนตุลาคมเป็นต้นไ 43640 หาร 12
= 3636.66 บาท
สำหรับในเดือนธันวาคม ให้ปรับปรุงการหักภาษี ณ ที่จ่ายดังนี้
ภาษีที่ต้องเสียทั้งปีจากเงินได้ที่ได้รับจริง (คำนวณจากเงินเดือน เดือนละ 30000 บาท 9 เดือน และ เดือนละ 60000 บาท 3 เดือน ) = 12320 บาท
ภาษีหัก ณ ที่จ่าย และนำส่งไว้แล้ว (ตั้งแต่เดือนมกราคมถึงพฤศจิกายน)
= (276.66 x 9 ) + (3636.66 x 2) = 9763.26 บาท
เป็นภาษีที่ต้องหัก ณ ที่จ่าย ในเดือนธันวาคม
= 12320 – 9763.26 = 2556.74 บาท
สรุป ผู้จ่ายได้จะต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย ของนาย ก. ในกรณีนี้ ดังนี้
เดือนมกราคมถึงกันยายน เดือนละ = 276.66 บาท
เดือนตุลาคมถึงพฤจิกายน เดือนละ = 3636.66 บาท
เดือนธันวาคม = 2556.74 บาท
กรณีจำนวนคราวที่จ่ายเงินได้พึงประเมินไม่สม่ำเสมอตลอดปีภาษี
ตัวอย่าง จากตัวอย่าง 1 นาย ก. ได้รับเงินเดือนและได้รับเงินค่าล่วงเวลาตามจำนวนวันที่ทำงาน
เดือนมกราคมได้รับค่าล่วงเวลา 6500 บาท
เดือนกุมภาพันธ์ได้รับค่าล่วงเวลา 5200 บาท
บริษัทฯ ผู้จ่ายเงินได้ต้องหักภาษี ณ ที่จ่ายในแต่ละคราว ดังนี้
วิธีคำนวณ
มกราคม
เงินเดือนเสมือนหนึ่งว่าได้จ่ายทั้งปี 30000×12 = 360000 บาท
ค่าล่วงเวลา = 6500 บาท
รวมเงินได้พึงประเมิน = 366500 บาท
หัก ค่าใช้จ่าย ( 40 % ไม่เกิน 60000 บาท ) = 60000 บาท
คงเหลือเงินได้หลักหักค่าใช้จ่าย = 306500 บาท
หัก ค่าลดหย่อน
( 30000 + 30000 + 34000 + 9600 + 13200 ) = 116800 บาท
คงเหลือเงินสุทธิ = 189700 บาท
ภาษีเงินได้ทั้งปีจากเงินเดือนและค่าล่วงเวลา
= (150000 บาทแรกยกเว้น ) + ( 39700 x 10% ) = 3970 บาท
หัก ภาษีเงินได้ทั้งปีเฉพราะเงินเดือน (ตามตัวอย่าง 1 ) = 3320 บาท
ภาษีเงินได้จากค่าล่วงเวลาเดือนมกราคม = 650 บาท
ภาษีหัก ณ ที่จ่ายจากเงินเดือนของเดือนมกราคม = 276.66 บาท
รวมภาษีหัก ณ ที่จ่ายเดือนมกราคม (650 + 276.66) = 926.66 บาท
กุมภาพันธ์
เงินเดือนเสมือนหนึ่งว่าได้จ่ายทั้งปี = 30000 x 12 = 360000 บาท
ค่าล่วงเวลาเดือนมกราคม = 6500 บาท
ค่าล่วงเวลาเดือนกุมภาพันธ์ = 5200 บาท
รวมเงินได้พึงประเมิน = 371700 บาท
หัก ค่าใช่จ่าย ( 40 % ไม่เกิน 60000 บาท ) = 60000 บาท
คงเหลือเงินได้หลังหักค่าใช่จ่าย = 311700 บาท
หักค่าลดหย่อน ( 30000 + 30000 + 34000 + 9600 + 13200 )
= 116800 บาท
คงเหลือเงินได้สุทธิ = 194900 บาท
ภาษีเงินได้ทั้งปีจากเงินเดือนและค่าล่วงเวลา
= ( 150000 บาทแรกยกเว้น ) + (44900 x 10% ) = 4490 บาท
หัก ภาษีเงินได้ทั้งปีเฉพาะเงินเดือน (ตามตัวอย่าง 1) = 3320 บาท
ภาษีเงินได้เฉพาะค่าล่วงเวลา = 1170 บาท
หัก ภาษีเงินได้ค่าล่วงเวลาเดือนมกราคม = 650.00 บาท
คงเหลือภาษีเงินได้ล่วงเวลาเดือนกุมภาพันธ์ = 276.66 บาท
รวมภาษีหัก ณ ที่จ่ายเดือนกุมภาพันธ์ (520+276.66) = 796.66 บาท
สรุป ผู้จ่ายเงินได้จะต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย ของนาย ก. ในกรณีนี้ ดังนี้
เดือนมกราคม = 926.66 บาท
เดือนกุมภาพันธ์ = 796.66 บาท
เดือนมีนาคมถึงพฤศจิกายน เดือนละ = 276.66 บาท
เดือนธันวาคม = 276.73 บาท