ภาษีโรงเรือนและที่ดิน ภาษีป้าย รู้ไว้จะได้ไม่พลาด

ภาษีโรงเรือนและที่ดิน ภาษีป้าย รู้ไว้จะได้ไม่พลาด

ภาษีโรงเรือนและที่ดิน

ภาษีโรงเรือนและที่ดิน
ภาษีโรงเรือนและที่ดิน

ทรัพย์สินที่ต้องเสียภาษีโรงเรือนและที่ดิน

*เป็นภาษีที่จัดเก็บจากโรงเรือน กับ ที่ดินซึ่งใช้ต่อเนื่องกับโรงเรือนนั้น

เช่น นางวิภา ปลูกสร้างโรงเรือนขึ้นหลังหนึ่ง เพื่อให้เช่าและมีที่ดินเป็นบริเวณบ้าน ที่ดินอาจเป็นสนามหญ้า เป็นทางเดินรอบบ้าน หรือเป็นสวนในบ้านก็ได้ การจัดเก็บภาษีโรงเรือนและที่ดินนี้จะต้องคำนวณค่ารายปีของโรงเรือนและที่ดินซึ่งรองรับโรงเรือนนั้น รวมทั้งที่ดินที่ต่อเนื่องด้วย

*ให้เช่าหรือให้ผู้อื่นอยู่อาศัยโดยไม่คิดค่าเช่า , ใช้ประกอบกิจการเพื่อหาประโยชน์อย่างอื่น , ใช้เป็นสำนักงาน  หรือสถานที่ประกอบพาณิชย์กิจต่างๆ ได้แก่ การซื้อ การขาย(ร้านค้า) การแลกเปลี่ยน การให้เช่า (แฟลต หรือ อพาร์ทเม้นท์ คอนโดมิเนียม หอพัก การใช้เช่าซื้อ การเป็นนายหน้าหรือตัวแทนการค้าต่างๆ การขนส่ง การหัตถกรรม การอุตสาหกรรม  การรับจ้างทำของ การให้กู้ยืม การรับจำนำ การรับจำนอง การคลังสินค้า การประกันภัย การธนาคาร โรงพยาบาล (เอกชน) โรงเรียน (เอกชน) ทางด่วน เป็นต้น ผู้มีหน้าที่ชำระภาษีฯ คือเจ้าของทรัพย์สิน อันได้แก่โรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้าง

*ที่ดินเปล่าเช่ามาปลูกโรงเรือนฯ ผู้เช่าที่เป็นเจ้าของโรงเรือน หรือสิ่งปลูกสร้าง (ผู้ขอใบอนุญาตก่อสร้างเป็นผู้เสียภาษีฯ)

ยื่นแบบแจ้งรายการ (ภ.รด.2) ภายในเดือน กุมภาพันธ์ ของทุกปี ยื่นเกิน ปรับ 200 บาท

เมื่อครบกำหนดเวลายื่นแบบแจ้งรายการฯ (ภ.รด.2) สำนักงานเขต / เทศบาล ได้ส่งหนังสือเตือนให้ยื่นแบบแล้ว แต่เจ้าของทรัพย์สิน ไม่มายื่นแบบ ภ.รด.2 นอกจากจะไปแจ้งพนักงานสอบสวน แล้ว ให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีหนังสือแจ้งไปยังผู้ครอบครองทรัพย์สิน เพื่อให้ผู้เช่า หรือผู้ครอบครองเป็นผู้แจ้งรายการฯ (ภ.รด.2 ค.และ ภ.รด.2 ง.) แทนโดยความเท็จ โดยเจตนาละเลยโดยฉ้อโกง โดยอุบาย โดยวิธีการอย่างหนึ่งอย่างใดทั้งสิ้นที่จะหลีกเลี่ยงหรือพยายามหลีกเลี่ยงการการคำนวณค่ารายปีแห่งทรัพย์สินฯ มีความผิดระวางโทษจำคุกไม่เกิน 6เดือน หรือปรับไม่เกิน 500บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ถ้าเจ้าของทรัพย์สินไม่มายื่นด้วยตนเอง ต้องมีใบมอบอำนาจตามกฎหมายให้ผู้อื่นกระทำแทน

การคำนวณภาษี / ฐานภาษี

คํานวณได้จาก ความกว้างของโรงเรือน x ความยาวของโรงเรือน x อัตราทําเล xจํานวนเดือนที่ประกอบกิจการ x12.5% = ภาษีจะต้องชําระในปีนั้น

คําอธิบายการแบ่งอัตราทําเล

อัตราทําเลที่ 1 หมายความว่า ทรัพย์สินที่ตั้งอยู่ในแหล่งที่ใช้ประโยชน์ในทางเศรษฐกิจได้ดีที่สุด

อัตราทําเลที่ 2 หมายความว่าทรัพย์สินที่ตั้งอยู่ในแหล่งที่ใช้ประโยชน์ในทางเศรษฐกิจได้ดีเป็นลําดับรองจากทําเลที่ 1

อัตราทําเลที่ 3 หมายความว่า ทรัพย์สินที่ตั้งอยู่ในแหล่งที่ใช้ประโยชน์ในทางเศรษฐกิจได้ดีเป็นลําดับรองจากทำเลที่2

กรณีการเชาที่ประกอบกิจการ

ใช้วิธีการคํานวณดังนี้ ค่าเช่าต่อปี x 12.5% = ค่าภาษีประจําปี

เช่น นาย ก ได้เช่าที่จาก นาย ข เพื่อใช้ในการประกอบกิจการโดยได้ตกลงค่าเช่าต่อปีเป็นเงิน 25,000 บาท เราก็สามารถคํานวณตามสูตร คือ 25,000 x 12.5% = 3,125 บาท / ปี

เมื่อท่านได้รับแจ้งการประเมิน (ภ.ร.ด.8) สำหรับภาษีโรงเรือนท่านต้องชำระค่าภาษีภายใน 30วัน นับแต่วันถัดจากวันที่ได้รับแจ้งรายการประเมิน ถ้ามิได้ชำระในกำหนด 30วัน ท่านต้องเสียเงินเพิ่ม

สิทธิที่จะคัดค้านการขอยกเว้น ขอปลด หรือขอลด กรณี โรงเรือนถูกรื้อถอน,ทำลาย,ว่างลงหรือชำรุดต้องซ่อมแซมส่วนที่สำคัญว่างลง พนักงานเจ้าหน้าที่ มีอำนาจลดค่าภาษีตามส่วนที่เสียหาย หรือปลดค่าภาษีทั้งหมดให้ก็ได้  ถ้าผู้รับประเมินได้ยื่นคำร้องและปรากฏว่าผู้รับประเมินได้เสียหาย (ส่วนการยื่นคำร้องห้องว่าง ในแต่ละเดือนถือเป็นพยานหลักฐานอย่างหนึ่ง ร่วมกับบิลค่าน้ำ-ค่าไฟฟ้า ใช้เป็นส่วนประกอบในการพิจารณาประเมินใช้ในการวินิจฉัยเท่านั้น ขึ้นอยู่กับข้อเท็จจริง)

ถ้ามิได้ มีการชำระค่าภาษีและเงินเพิ่มภายใน 4เดือน ให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร นายกเทศมนตรี ปลัดเมืองพัทยา ประธานกรรมการสุขาภิบาล หรือผู้ว่าราชการจังหวัดแล้วแต่กรณีมีอำนาจออกคำสั่งเป็นหนังสือให้ยึด อายัด หรือขายทอดตลาดทรัพย์สินของผู้ค้างภาษี เพื่อนำเงิน มาเสียค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่าย โดยมิต้องขอให้ศาลสั่ง หรือ ออกหมายยึด ทั้งนี้ ตามระเบียบที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยกำหนด

เมื่อท่านไม่ยื่นแบบ แจ้งรายการเพื่อเสียภาษีโรงเรือนและที่ดิน (ภ.ร.ด.2)

ผู้รับประเมินผู้ใดไม่ยื่นแบบพิมพ์แสดงกรายการ เพื่อเสียภาษีโรงเรือนและที่ดิน ยื่นแบบพิมพ์ไม่ถูกต้องตามความเป็นจริง หรือไม่บริบูรณ์ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจประเมิน และให้มีการแจ้งประเมินย้อนหลังให้ผู้รับประเมินภาษีตามที่พนักงานเจ้าหน้าที่ประเมินได้ , ไม่ยื่นแบบพิมพ์ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจดำเนินการ ประเมินย้อนหลังไม่เกิน 10ปี

ยื่นแบบไม่ถูกต้องตามความเป็นจริงหรือไม่บริบูรณ์ให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจประเมินย้อนหลังได้ไม่เกิน 5ปี

กรณีภาษีค้างอยู่และยังมิได้ชำระ ขณะเมื่อทรัพย์สินได้โอนกรรมสิทธิ์ไปเป็นของเจ้าของใหม่ โดยเหตุใดๆก็ตาม ท่านว่าเจ้าของคนเก่าและคนใหม่เป็นลูกหนี้ค่าภาษีนั้นร่วมกัน

ยกเว้นภาษีโรงเรือนกรณีดังนี้

-ทรัพย์สินส่วนสาธารณสมบัติของแผ่นดิน

-ทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ที่มิได้ใช้หาผลประโยชน์

-ทรัพย์สินของรัฐหรือของหน่วยงานของรัฐที่ใช้ในกิจการของรัฐหรือของหน่วยงานของรัฐ หรือใช้ในกิจการสาธารณะโดยมิได้ใช้หาประโยชน์

-ทรัพย์สินที่เป็นที่ทำการขององค์การสหประชาชาติ ทบวงการชำนาญพิเศษขององค์การสหประชาชาติ หรือองค์การระหว่างประเทศอื่นที่ประเทศไทยมีข้อผูกพันให้ยกเว้นภาษีตามสนธิสัญญาหรือความตกลง

-ทรัพย์สินที่เป็นที่ทำการสถานทูตหรือสถานกงสุลของต่างประเทศตามหลักถ้อยทีถ้อยปฎิบัติต่อกัน

-ทรัพย์สินของสภากาชาดไทย

-ทรัพย์สินที่เป็นศาสนสมบัติไม่ว่าของศาสนาใด เฉพาะที่มิได้ใช้หาผลประโยชน์

-ทรัพย์สินที่ใช้เป็นสุสานสาธารณะหรือฌาปนสาธารณะโดยมิได้รับประโยชน์ตอบแทน

-ทรัพย์สินที่เป็นของมูลนิธิหรือองค์การที่ประกอบกิจการสาธารณะ ทั้งนี้ เฉพาะที่มิได้ใช้หาผลประโยชน์

-ทรัพย์สินตามที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกา

ภาษีป้าย

ตาม พรบ.ภาษีป้าย พ.ศ.2510

ป้าย หมายความว่า: ป้ายแสดงชื่อ ยี่ห้อ หรือ เครื่องหมายที่ใช้ประกอบการค้า หรือ ประกอบกิจการอื่น เพื่อหารายได้ หรือ โฆษณาการค้า หรือกิจการอื่น เพื่อหารายได้

ป้าย แสดงไว้ที่วัตถุใดๆ ด้วยอักษรภาพ เครื่องหมาย ที่เขียน แกะสลัก จารึก

ติดตั้ง ในบริเวณ ของสถานประกอบการค้าหรือประกอบกิจการอื่นเพื่อหารายได้ หรือจุดที่ทำการค้า หรือ กิจการอื่น เพื่อหารายได้ เช่น ติดกับตัวอาคาร , ติดไว้บนหลังคาอาคาร

ภายในสถานที่ประกอบการค้าหรือประกอบกิจการอื่นเพื่อหารายได้ จะต้องหมายถึงป้ายที่สามารถมองเห็นได้จากภายนอก และมีเจตนาจะให้เป็นวัตถุโฆษณาแก่บุคคลภายนอก

เมื่อติดตั้งป้าย ให้ยื่นแบบแสดงรายการเพื่อเสียภาษี ตั้งแต่เริมติดตั้งป้ายหรือแสดงจนถึงวันสิ้นปี ปีต่อไปให้ยื่นแบบ ภป.1 ภายในเดือน มีนาคม ของทุกปี

ให้เจ้าของป้ายมีหน้าที่ต้องเสียภาษียื่นแบบภาษีป้าย (ภ.ป.1) ภายในเดือน มีนาคม ของปียกเว้นที่เริ่มติดตั้งหรือแสดงในปีแรก ให้คิดภาษีป้ายเป็นรายงวด งวดละ 3 เดือน และเริ่มเสียตั้งแต่ที่ติดตั้งจนถึงวันสุดท้ายของปีงวดที่ 1 มกราคม-มีนาคม =100%, งวดที่ 2 เมษายน-มิถุนายน =75% งวดที่ 3 กรกฎาคม-กันยายน = 50% งวดที่ 4 ตุลาคม-ธันวาคม = 25%

หลักฐานที่ใช้ประกอบการเสียภาษี

1.บัตรประจำตัวประชาชน / สำเนาทะเบียนบ้าน

2.ทะเบียน – ภาษีมูลค่าเพิ่ม

3.หนังสือรับรองห้างหุ้นส่วน หรือ บริษัท

4.ใบอนุญาตติดตั้งป้าย

เจ้าของป้าย และกรณีถ้าเจ้าของป้ายตาย เป็นผู้ไม่อยู่ เป็นคนสาบสูญ เป็นคนไร้ความสามารถ ให้ผู้จัดการมรดก ผู้ครอบครองทรัพย์มรดก ไม่ว่าจะเป็นทายาทหรือผู้อื่นมีหน้าที่ยื่นแบบแทน เจ้าของป้าย , ป้ายที่ตั้งบนอาคาร หรือที่ดินถ้าพนักงางนหาตัวเจ้าของป้ายไม่ได้เจ้าของอาคารหรือผู้ครอบครองอาคารเจ้าของอาคาร หรือ เจ้าของที่ดิน ต้องรับผิดชอบค่าภาษีป้าย

รู้อยู่จงใจไม่ยื่นแบบแสดงรายการภาษีป้าย ปรับ 5,000 – 50,000 บาท

ป้ายที่ติดตั้งบนอสังหาริมทรัพย์ (ที่ดิน อาคาร บ้าน ฯลฯ) เกิน 2ตารางเมตรไม่มีชื่อ ที่อยู่เจ้าของป้ายเป็นภาษาไทยที่ชัดเจนที่มุมขวาด้านล่างของป้าย โทษปรับวันละ 100 เรียงราววันตามระยะเวลาที่กระทำผิด

การคํานวณภาษีป้ายว่าจะต้องเสียภาษีให้แก่รัฐเป็นเงินจํานวนเท่าไร่ คุณก็คํานวณเองได้ วิธีการคิด กว้าง(เซนติเมตร) x ยาว(เซนติเมตร) ÷ 500 x อัตราของแต่ละประเภทป้าย = ภาษีป้ายที่ต้องชําระ

าย มี 3 ประเภท ไดแก่

ป้ายประเภทที่ 1 คือป้ายที่มีอักษรไทยล้วน จะคิดอัตรา 3 บาท ต่อ 500 ตารางเซนติเมตร

ป้ายประเภทที่ 2 คือป้ายที่มีรูปภาพ หรือมีภาษาต่างประเทศปนกับภาษาไทยโดยที่ภาษาต่างประเทศต้องไม่อยู่สูงกว่าาภาษาไทย จะคิดในอัตรา 20 บาท ต่อ 500 ตารางเซนติเมตร

ป้ายประเภทที่ 3 คือป้ายที่มีภาษาต่างประเทศอยู่สูงกว่าภาษาไทย จะคิดในอัตรา 40 บาท ต่อ 500 ตารางเซนติเมตร

ซึ่งตามระเบียบหากหาค่าได้แล้วไม่ถึง 200 บาท ก็ให้คิดในอัตรา 200 บาท เช่น กว้าง 120 เซนติเมตร ยาว 200 เซนติเมตร เป็นป้ายที่มีภาษาไทยล้วน ก็นําค่าที่ทราบมาคํานวณ 120 x 200 ÷ 500 x 3 = 144 บาท ก็ให้คิดในอัตรา 200 บาท เป็นต้น

ไม่ชำระภาษีป้ายภายในกำหนด ให้เสียเงินเพิ่มร้อยละ 2 ต่อเดือนของเงินค่าภาษีป้าย

มาตรา 39 ทวิ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดซึ่งต้องรับโทษตาม พรบ.นี้เป็นนิติบุคคล กรรมการ ผู้จัดการ หรือผู้แทนของนิติบุคคลนั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้นๆด้วย เว้นแต่จะพอสูจจน์ได้ว่า ตนมิได้รู้เห็นหรือยินยิมในการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้น

ไม่ชำระภาษีป้าย กฎหมายกำหนดให้ผู้บริหารท้องถิ่น มีอำนาจออกคำสั่งเป็นหนังสือ ให้ยึดหรืออายัดและขายทอดตลาดทรัพย์สิน ของผู้มีหน้าที่เสียภาษีป้ายที่ค้างชำระ เพื่อนำเงินมาชำระค่าภาษีป้ายค่าธรรมเนียม และค่าใช้จ่ายโดยมิต้องให้ศาลสั่งหรือออกหมายยึด

Comments

comments