มาตรการส่งเสริมให้บุคคลธรรมดาประกอบกิจการ

ทราบแล้วเปลี่ยน….ด่วนๆๆๆ

มาตรการส่งเสริมให้บุคคลธรรมดาประกอบกิจการในรูปแบบนิติบุคคล

ที่จดทะเบียนจัดตั้งขึ้นตั้งแต่วันที่ 10สิงหาคม 2559 ถึงวันที่ 31ธันวาคม 2560 พระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่630)

วัตถุประสงค์หลักที่กรมสรรพากรผลักดันเรื่องนี้ เพราะเห็นว่าปัจจุบันหนี้ครัวเรือนสูงกว่า 80%ของจีดีพี ซึ่งในจำนวนดังกล่าวเป็นหนี้ครัวเรือนเกิดจากการประกอบธุรกิจอยู่ราว15% ดังนั้นหากสามารถตัดส่วนนี้ออกไปได้ ก็จะทำให้ภาพรวมเรื่องหนี้ครัวเรือนของประเทศดีขึ้น และปัจจุบันบริษัทนิติบุคคลจะเสียภาษีเงินได้ในอัตรา 20% ซึ่งจะต่ำกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับภาระภาษีจากการทำธุรกิจใบรูปแบบบุคคลธรรมดา (ประชาชาติธุรกิจออนไลน์)

และเพื่อหวังกระตุ้นให้บุคคลธรรมดารายย่อย เปลี่ยนมาประกอบกิจการในรูปบริษัทหรือนิติบุคคลแทน อันเป็นการส่งเสริมธุรกิจ SMEs และที่สำคัญภาครัฐสามารถเก็บภาษีได้เพิ่มขึ้นด้วย

ประเด็นของเงื่อนไขทางภาษีอากรเกี่ยวกับการโอนทรัพย์สินให้แก่ บริษัท หรือ ห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากรฯ(ฉบับที่4) และ ประกาศอธิบดีกรมสรรพากรฯ(ฉบับที่5) ซึ่งสามารถสรุปได้ดังนี้

มาตรการส่งเสริมให้บุคคลธรรมดาประกอบกิจการ

เงื่อนไขเดิม

เงื่อนไขที่เพิ่มเติม  ข้อมูลอ้างอิง
1.บุคคลผู้โอนทรัพย์สินต้องเป็นบุคคลธรรมดา แต่ไม่รวมถึงห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล 1.บุคคลผู้โอนทรัพย์สิน ต้องเป็น (ก) บุคคลธรรมดาที่ประกอบกิจการ หรือ (ข) ห้างหุ้นส่วนสามัญ หรือคณะบุคคลที่ มิใช่นิติบุคคล(ที่มีการประกอบกิจการ) ตาม (ก) อ้างอิง “ข้อ2 แห่ง ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร(ฉบับที่5) ตาม (ข) อ้างอิง “มติอนุมัติหลักการ ของคณะรัฐมนตรี ลงวันที่ 13มิย.60” ซึ่งคาดว่าจะเข้าสู่กระบวนการในการ ออกเป็นร่างพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการยกเว้นรัษฎษกร(ฉบับที่…)พ.ศ….”
2.ต้องเป็นการโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินตามราคาตลาด 2.ต้องเป็นการโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินของบุคคลธรรมดาที่ใช้ในการประกอบกิจการ โดยราคาที่ใช้ในกิจการคือราคาตลาด ยกเว้น หากเป็นกรณีของทรัพย์สินประเภทที่ดิน หรือ ที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้าง ใช้ (1) “ราคาประเมินเพื่อเรียกเก็บค่าธรรมเนียมตามกฎหมายที่ดิน ซึ่งเป็นราคาที่ใช้อยู่ในวันที่มีการโอน”หรือ (2) “ราคาต้นทุนการซื้อที่ดิน หรือที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้าง ที่บุคคลผู้โอนได้ซื้อมาตามหลักฐานสัญญาซื้อขายที่ได้ทำเป็นหนังสือต่อพนักงานเจ้าหน้าที่” ทั้งนี้ แล้วแต่อย่างใดจะสูงกว่า  อ้างอิง “ข้อ2แห่งประกาศอธิบดีกรม สรรพากรฯ (ฉบับที่5)”
3.บุคคลธรรมดาต้องถือหุ้นในบริษัท หรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่รับโอนทัพย์สินเป็นจำนวนไม่น้อยกว่ามูลค่าทรัพย์สินที่โอน  เหมือนกับเงื่อนไขเดิม  อ้างอิง “ข้อ2แห่งประกาศอธิบดีกรม สรรพากรฯ (ฉบับที่5)”
4.ต้องไม่โอนหุ้นในราคาต่ำกว่ามูลค่าทางบัญชี  เหมือนกับเงื่อนไขเดิม  อ้างอิง “ข้อ2แห่งประกาศอธิบดีกรม สรรพากรฯ (ฉบับที่5)”
5.ผู้โอนและผู้รับโอนอสังหาริมทรัพย์ จะต้องร่วมกันจัดทำหนังสือรับรองให้ แก่เจ้าพนักงานที่ดินท้องที่/อธิบดีกรมสรรพากร  เหมือนกับเงื่อนไขเดิม  อ้างอิง “ข้อ2แห่งประกาศอธิบดีกรม สรรพากรฯ (ฉบับที่5)”

ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 9สิงหาคม 2559 มีความเห็นชอบดังนี้

1.บุคคลธรรมดา ที่มีการประกอบกิจการ หรือห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีธุรกิจเฉพาะ และอากรแสตมป์จากการโอนทรัพย์สินให้แก่บุคคลที่ จดทะเบียนบริษัท จดทะเบียนห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ตั้งแต่วันที่ 10สิงหาคม 2559 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2560

2.บุคคลธรรมดา ที่ จดทะเบียนบริษัท หรือ จดทะเบียนห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ตั้งแต่วันที่ 10 สิงหาคม 2559 ถึง วันที่ 31 ธันวาคม 2560 โดยทุนที่ชำระแล้วในวันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชีไม่เกิน 5ล้านบาท และมีรายได้จากการขายสินค้าและให้บริการในรอบระยะบัญชีไม่เกิน 30ล้านบาท มีสิทธินำรายจ่ายจำนวนร้อยละ100 ของรายจ่ายที่เกิดจากการจดทะเบียนบริษัท หรือจดทะเบียนห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ค่าทำบัญชี และ ค่าสอบบัญชี หักเป็นรายจ่ายในการคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลได้ เป็นระยะเวลา 5รอบบัญชีต่อเนื่องกัน นับแต่รอบระยะเวลาบัญชีที่ได้ จดทะเบียนบริษัท หรือ จดทะเบียนห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล

3.ปรับปรุงอัตราการ หักค่าใช้จ่ายเป็นการเหมาสำหรับเงินได้ตามมาตรา 40(7) และ (8) แห่งประมวลรัษฎากร ให้ลดลงเหลือร้อยละ 60 สำหรับเงินได้ที่ได้รับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2560 เป็นต้นไป

4.ลดค่าธรรมเนียม จดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมสำหรับธุรกรรมการโอนอสังหาริมทรัพย์ และธุรกรรมการโอนหุ้องชุดของผู้ถือหุ้นเพื่อชำระค่าหุ้นให้แก่นิติบุคคลที่จัดตั้งใหม่ตามมาตรการนี้จากร้อยละ 2 ของราคาประเมินทุนทรัพย์เหลือร้อยละ 0.01 โดยมีผลตั้งแต่วันที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยลงนามในประกาศ ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2560

โดยสรุป เงื่อนไขที่สำคัญ

เฉพาะ “ทรัพย์สินของบุคคลธรรมดาที่ใช้ในการประกอบกิจการ” เท่านั้น

1.ราคาที่ใช้ในการโอนทรัพย์สินในกิจการ คือ ราคาตลาด

ยกเว้น กรณีของทรัพย์สินประเภทที่ดิน หรือ ที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้าง ใช้

**ราคาประเมิน เพื่อเรียกเก็บค่าธรรมเนียมตามกฎหมายที่ดิน ซึ่องเป็นราคาที่ใช้อยู่ในวันที่มีการโอน”  หรือ  **ราคาต้นทุน การซื้อที่ดิน หรือที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้าง

ที่ดินผู้โอนได้ซื้อมาตามหลักฐานสัญญาซื้อขายที่ได้ทำเป็นหนังสือต่อพนักงานเจ้าหน้าที่

ทั้งนี้ แล้วแต่อย่างใดจะสูงกว่า

2.ถือหุ้นไม่น้อยกว่ามูลค่าทรัพย์สินที่โอน

3.ต้องไม่โอนหุ้นราคาต่ำหว่ามูลค่าหุ้นทางบัญชี

4.ผู้โอนและผู้รับโอนจัดทำหนังสือรับรองให้แก่เจ้าพนักงานที่ดิน / อธิบดีกรมสรรพากร

Comments

comments