ในการประกอบธุรกิจทุกประเภทไม่ว่าจะเป็นธุรกิจขายสินค้าหรือให้บริการหรือไม่ก็ตาม ย่อมต้องเข้าไปเกี่ยวข้องกับภาษีอากรอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ซึ่งผู้ประกอบธุรกิจหรือผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีของแต่ละ กิจการจะต้องมีการศึกษาข้อมูลทางภาษีอากรอย่างละเอียดและรอบคอบ ไม่ว่าจะเป็นประเภท วิธีการ หลักเกณฑ์ และเงื่อนไขทางภาษีอากร นอกจากนี้แล้วจะต้องศึกษากฎหมายบัญชี หลักการบัญชีมาตรฐานการบัญชี และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องเพื่อให้การเสียภาษีภาษีอากรเป็นไปอย่างมีระบบแบบแผนที่ดี สิ่งที่มักจะเกิดขึ้นในการดำเนินธุรกิจแทบธุรกิจก็คือ ไม่มีการวางแผนภาษี (Tax Planning) และมักจะไม่เข้าใจความสำคัญในการวางแผนภาษีอากรว่าจะก่อให้เกิดประโยชน์แก่ธุรกิจมากน้อยเพียงใด ดังนั้นการวางแผนภาษีอากรหมายถึง
การวางแผนภาษี (Tax Planning)
เป็นกระบวนการวางแผนภาษีเพื่อกำหนดวัตถุประสงค์ล่วงหน้าหรือในอนาคตว่าจะปฏิบัติอย่างไร มีหลักเกณฑ์เงื่อนไขอย่างไรเพื่อให้เสียภาษีครบถ้วนถูกต้อง สมบูรณ์ และประหยัด
หากกิจการมีความประสงค์ที่จะมีการวางแผนภาษี สิ่งสำคัญที่จะต้องคำนึงถึงก็คือ ผู้วางแผนภาษีอากรและบัญชี เพื่อให้การวางแผนภาษีอากรกับการจัดทำบัญชีถูกต้องและเป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่กิจการได้ตั้งเอาไว้ ปกติแล้วการวางแผนอากรนิยมวางแผนก่อนเริ่มกิจการหรืออาจจะวางแผนภาษีอากรเมื่อกิจการได้ดำเนินไปได้ระยะหนึ่ง หรือเลือกที่จะวางแผนภาษีเพื่อให้การปฏิบัติงานได้อย่างรวดเร็วและถูกต้อง แม่นยำ ลดข้อผิดพลาดได้เป็นอย่างดี
จุดประสงค์ในการวางแผนภาษี
จุดประสงค์ที่สำคัญในการวางแผนภาษีอากรนั้น ผู้วางแผนภาษีจะต้องทำความเข้าใจเกี่ยวกับการวางแผนภาษีอากร (Tax Planning) ว่าเป็นกาวางแผนการเสียภาษีอากรของธุรกิจเพื่อให้กิจการได้รับประโยชน์สูงสุด ลดต้นทุนให้ต่ำลง ภายใต้เงื่อนไขที่ถูกต้องตามกฎหมาย และเป็นการวางแผนอย่างรัดกุมเพื่อป้องกันภาระภาษีอากรที่อาจจะเกิดขึ้นกับกิจการในอนาคต ดังนั้นการวางแผนภาษี (Tax Planning) นอกจากจะต้องเสียภาษีให้ครบถ้วนแล้วถูกต้องแล้ว ผู้วางแผนภาษีบางรายมักจะนำการหลบเลี่ยงภาษี (Tax Avoidance) เข้ามามีส่วนรวมในการวางแผนภาษีด้วย การหลบเลี่ยงหรือหลบหลีกภาษีเป็นการอาศัยช่องว่างของกฎหมายภาษีอากรเข้ามาใช้ในการวางแผนภาษีเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด ซึ่งช่วงว่างของกฎหมายดังกล่าวไม่ได้กำหนดหรือไม่ได้เขียนไว้ในกฎหมาย หรือกฎหมายไม่ได้มีการห้ามปฏิบัติ ก็ใช้ช่วงว่างดังกล่าวมาเป็นเครื่องมือในการวางแผนภาษี ซึ่งไม่ถือว่าเป็นการผิดกฎหมาย เนื่องจากกฎหมายไม่ได้บัญญัติเอาไว้หรือห้ามไว้ แต่หากผู้วางแผนภาษีมีแนวความคิดที่จะ ”หนีภาษี (Tax Evasion)” วิธีนี้จะทำให้กิจการมีความผิดตามกฎหมายเนื่องจากเป็นการเสียภาษีไม่ครบถ้วน ไม่ถูกต้อง กฎหมายภาษีอากรก็มีบทลงโทษไว้ในมาตรา 37 แห่งประมวลรัษฎากร โทษสูงสุดปรับไม่เกิน 200,000 บาท หรือจำคุก 7 ปี หรือทั้งจำและปรับ หากผู้วางแผนภาษีมีความคิดที่จะหนีภาษี จึงไม่ใช่เป็นส่วนหนึ่งในการวางแผนภาษีเนื่องจากมีความผิดตามกฎหมาย ก่อนที่จะมีการวางแผนภาษีนั้นจะต้องมีความรู้ความเข้าใจในจุดประสงค์ของการวางแผนภาษีดังต่อไปนี้
- ลดต้นทุน
- สมเหตุผล
- ภาระที่อาจเกิดขึ้น
- สิทธิ์ประโยชน์ทางภาษีอากร
- ถูกกฎหมายภาษีอากร
1. ถูกกฎหมาย
ในการวางแผนภาษีอากรผู้วางแผนจะต้องมีความรู้ความเข้าใจตัวบทกฎหมายอย่างชัดเจนถูกต้อง ไม่หลงลืมประเด็นหนึ่งประเด็นใดในตัวบทกฎหมายภาษีอากรนอกจากนี้จะต้องศึกษาคำพิพากษาและข้อหารือของกรมสรรพกรประกอบการวางแผนภาษีอากรอย่างละเอียด และทำให้กิจการเสียภาษีโดยประหยัดและถูกต้องสิ่งที่ผู้วางแผนภาษีควรคำนึงถึงอย่างหนึ่งก็คือ อย่าพิจารณาประเด็นใดประเด็นหนึ่งเพียง ประเด็นเดียว จะต้องพิจารณารายละเอียดของภาษีอากรที่เกี่ยวข้องอย่างสมบูรณ์ทุกประเด็นไม่ตกหล่น ไม่ว่าจะเป็นภาษีเงินได้นิติบุคคล ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย หรือภาษีมูลค่าเพิ่มที่มักจะเข้ามาเกี่ยวข้องกับการจ่ายเงินที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลจะต้องมีการหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย
2. สิทธิประโยชน์ทางภาษี
ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายด้านผู้จ่ายเงิน ซึ่งมีหน้าที่และนำส่งกรมสรรพากร ด้านผู้รับเงินจะต้องศึกษาข้อกฎหมายที่จะทำให้กิจการได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีสูงสุดในแต่ล่ะประเด็น โยการกำหนดทางเลือกในการนำเงื่อนไขทางกฎหมายมาใช้ในกิจการเพื่อให้ได้รับประโยชน์และถูกกฎหมายอีกด้วย เช่น รายได้ที่ได้รับยกเว้นภาษีเมื่อมีการจ่ายเงินได้พึงประเมินดังกล่าวไม่ต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายจะเห็นได้จากรายได้ของธุรกิจ BOI ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลเมื่อจ่ายเงินปันผลจากกำไรสุทธิของกิจการ BOI ก็ไม่ต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย
3. ภาระที่อาจจะเกิดขึ้น
เมื่อกิจการจะต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายโดยการวางแผนภาษีอากรจะต้องคำนึงถึงปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต หากมุมมองของผู้วางแผนขาดความรอบคอบในการศึกษาตัวบทกฎหมายอย่างถูกต้องแล้ว อาจเกิดปัญหาได้ในอนาคตโดยถูกสรรพากรเรียกตรวจสอบและประเมินภาษี ทำให้กิจการมีรายจ่ายเกิดขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ดังนั้นจะพิจารณาเฉพาะส่วนที่ต้องหักภาษี ณ ที่จ่ายเพียงอย่างเดียวไม่เพียงพอ จะต้องคำนึงถึงภาษีที่อาจจะเกี่ยวข้อง เช่น ภาษีมูลค่าเพิ่ม
4. ชัดเจนและสมเหตุผล
การวางแผนภาษีอากรในเรื่องหนึ่งเรื่องใดจะต้องมีการยกกฎหมายมาอ้างอิงให้ชัดเจน สามารถตอบปัญหาต่างๆได้โดยปราศจากข้อโต้แย้งทางภาษีอากรไม่ว่าจะเป็นกฎหมายภาษีต่างๆ ในประมวลรัษฎากร คำพิพากษา ข้อหารือของกรมสรรพากรหรือกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง สามารถหาคำตอบได้เป็นที่ยอมรับของฝ่ายจัดการหรือฝ่ายบริหารอย่างไม่มีข้อสงสัย และเชื่อถือในข้อมูลที่นำมาอ้างอิงเพื่อการวางแผนภาษี
5. ลดต้นทุน
กิจการที่มีการวางแผนภาษีอากรจะทำให้กิจการสามารถลดต้นทุนที่ไม่จำเป็นออกไป เช่น การขอรับสิทธิการส่งเสริมการลงทุนทำให้กิจการได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล การยกเว้นภาษีอากรสำหรับส่วนแบ่งกำไรหรือเงินปันผล การประกอบกิจการในเขตอุตสาหกรรมส่งออกซึ่งเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 0 การจัดซื้อทรัพย์สินที่ใช้ในการวิจัยและพัฒนาที่ได้รับสิทธิในการคำนวณค่าเสื่อมราคามากกว่าปกติ เป็นต้น นอกจากจะช่วยในการลดต้นทุนของกิจการแฃ้วยัช่วยในการเพิ่มกำไรสุทธิของกิจการให้สูงขึ้นโดยการอาศัยการวางแผนภาษีอากร
การวางแผนภาษีอากร (Tax Planning)
หากกิจการมีความประสงค์ที่จะวางแผนภาษีอากร สิ่งสำคัญอย่างหนึ่งที่ผู้วางแผนภาษีจะต้องคำนึงถึงก็คือ หลักเกณฑ์ที่สำคัญที่ผู้วางแผนภาษีหรือผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการวางแผนภาษีควรศึกษาทำความเข้าใจข้อมูลเรื่องใดบ้าง เพื่อประโยชน์ในการวางแผนภาษีอากรให้ครบถ้วน ถูกต้อง และประหยัด หลักเกณฑ์ที่สำคัญมีดังต่อไปนี้
1. ประมวลรัษฎากร
หลักเกณฑ์ที่สำคัญในการวางแผนภาษีอากรจะต้องศึกษาประมวลรัษฎากรซึ่งถือเป็นตัวบทกฎหมายภาษีที่เกี่ยวข้องกับกิจการในแต่ละมาตราพระราชบัญญัติ ประกาศ คำสั่ง ฯลฯ ที่เอื้ออำนวยประโยชน์ต่อธุรกิจโดยตรงผู้วางแผนภาษีจะต้องศึกษากฎหมายที่มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา และทันต่อเหตุการณ์ไม่ว่าจะเป็นกฎหมายบัญญัติ หรืออนุบัญญัติก็ตาม
2.คำพิพากษา ข้อหารือของกรมสรรพากร คำวินิจฉัย
นอกจากจะศึกษาตัวบทกฎหมายในประมวลรัษฎากรแล้ว ผู้วางแผนควรจะศึกษาคำพิพากษาฎีกาในแต่ละประเด็น รวมไปถึงคำวินิจฉัยของกรมสรรพากรที่ได้ชี้ขาดปัญหาของกฎหมายบางประเภท นอกจากนี้ยังจะต้องหมั่นศึกษาข้อหารือของกรมสรรพากรซึ่งมีจำนวนมากและหลายปี เพราะเป็นแนวปฏิบัติเกี่ยวกับการเสียภาษีที่ถูกต้องตามกฎหมายภาษีอากร
3. ประเภทภาษีอากร
การวางแผนภาษีอากรจะต้องศึกษาภาษีประเภทใดบ้างที่เข้ามาเกี่ยวข้องกับธุรกิจซึ่งผู้วางแผนภาษีควรศึกษาภาษีต่างๆจากประมวลรัษฎากร คำพิพากษา คำวินิจฉัย ข้อหารือของกรมสรรพากร ภาษีอากรที่เกี่ยวข้องมีดังนี้
- ภาษีทางตรง
- ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
- ภาษีเงินได้นิติบุคคล
- ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย
- ภาษีทางอ้อม
- ภาษีมูลค่าเพิ่ม
- ภาษีธุรกิจเฉพาะ
- อากรแสตมป์
ผู้วางแผนภาษีจะต้องศึกษาภาษีต่างๆ ดังกล่าวข้างต้นให้ชัดเจนแม่นยำเพื่อการวางแผนภาษีอากรได้อย่างรัดกุม ประหยัด และถูกต้องตามกฎหมาย
4. รูปแบบหรือองค์กรของธุรกิจ
การวางแผนภาษีอากรจำเป็นที่จะต้องคำนึงถึงองค์กรประกอบธุรกิจเพื่อให้สอดคล้องและได้รับประโยชน์สูงสุดในการวางแผนภาษีอากร โดยเฉพาะอย่างยิ่งต้องศึกษาอัตราภาษี เงื่อนไขต่างๆ ที่จะต้องเสียภาษีอากร รูปแบบองค์กรในการประกอบธุรกิจมีหลายรูปแบบด้วยกัน เช่น
- บุคคลธรรมดา
- คณะบุคคล
- ห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน
- บริษัทจำกัด
- บริษัทมหาชนจำกัด
- นิติบุคคลต่างประเทศ
- กิจการร่วมค้า
ผู้วางแผนภาษีจะต้องเลือกรูปแบบให้เหมาะสมและจะทำให้ถูกหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายน้อยลงด้วย เช่น หากเป็นบุคคลธรรมดา บางกรณีจะถูกหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายในอัตราก้าวหน้า (5-37%) แต่หากเป็นนิติบุคคลจะถูกหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายในอัตราคงที่ เช่น 1% 3% 5%
5. ประเภทธุรกิจ
เมื่อเลือกองค์ประกอบธุรกิจประเภทใดประเภทหนึ่งได้แล้ว การศึกษาประเภทของธุรกิจที่ดำเนินกิจการว่า จะทำกิจการประเภทใดเพื่อสะดวกต่อการวางแผนภาษีอากร ประเภทของธุรกิจมีหลายประเภทด้วยกันเช่น
- ธุรกิจขายสินค้า
- ธุรกิจให้บริการ
- ธุรกิจรับจ้างทำของ
- ธุรกิจชายพร้อมติดตั้ง
- ธุรกิจขายสินค้าและให้บริการ
- ธุรกิจรับจ้างผลิต แต่ปกติผลิตขาย
6. มาตรฐานการบัญชี
การวางแผนภาษีอากรจะไม่สมบูรณ์ได้เลยหากผู้วางแผนไม่ได้ศึกษาเรื่องของหลักการบัญชีทั่วไปหรือมาตรฐานการบัญชีที่ออกโดยสภาวิชาชีพ เพราะในการเสียภาษีอากรจะเสียจากข้อมูล รายงานและหลักฐานต่างๆที่เกิดขึ้นจากการบันทึกบัญชีโยสรุปออกมาในรูปแบบของรายงานทางการเงินไม่ว่าจะเป็นงบกำไรขาดทุนงบแสดงฐานะการเงิน หรือรายงานประกอบต่างๆในการจัดทำบัญชี บางครั้งเราจะพบปัญหาอย่างหนึ่งก็คือ หลักการบัญชีหรือมาตรฐานการบัญชีมีหลักเกณฑ์แตกต่างไปจากประมวลรัษฎากร ในวิธีปฏิบัติในการคำนวณเพื่อเสียภาษีอากร เช่น การรับรู้รายได้-รายจ่าย การคิดค่าเสื่อมราคาทรัพย์สินดังนั้นจะต้องมีการปรับปรุงให้หลักการบัญชีกับประมวลรัษฎากรสอดคล้องเป็นแนวทางเดียวกันตามหลักการบัญชีภาษีอากร
7. เอกสารหลักฐานประกอบการบันทึกบัญชี
ปัญหาอย่างหนึ่งในการวางแผนภาษีที่มักจะไม่ประสบความสำเร็จก็คือ ไม่ได้คำนึงถึงระบบเอกสาร ซึ่งถือเป็นส่วนหนึ่งของระบบบัญชี หากผู้วางแผนภาษีไม่ให้ความสนใจในเอกสารหลักฐานทางบัญชีอาจจะทำให้การวางแผนภาษีล้มเหลวไม่เป็นไปตามเป้าหมาย ผู้วางแผนภาษีจะต้องตระหนักถึงเอกสารหลักฐานในการบันทึกบัญชีตามกฎหมายเกี่ยวกับบัญชีของกระทรวงพาณิชย์ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กองบัญชีธุรกิจที่ได้กำหนดประเภทของเอกสารที่ใช้ประกอบการบันทึกบัญชี รวมไปถึงเอกสารที่สรรพกรยอมรับถือเป็นหลักฐานที่ใช้พิสูจน์ได้ว่าใครเป็นผู้รับเงิน สามารถนำไปคำนวณกำไรสุทธิได้ จะต้องศึกษารูปแบบของเอกสาร สัญญาต่างๆ ให้ชัดเจนในการหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย
8. ระบบบัญชี
นอกจากจะมีการจัดระบบเอกสารให้ถูกต้องตามกฎหมายบัญชี หลักการการบัญชีและกฎหมายภาษีอากรแล้ว ผู้วางแผนภาษีจะต้องศึกษาระบบบัญชีของกิจการว่ามีข้อบกพร่องที่จะต้องมีการปรับปรุงแก้ไขให้ถูกต้องสมบูรณ์หรือไม่อย่างไร เป็นที่ทราบกันโดยทั่วไปว่ากิจการส่วนมากไม่มีการวางระบบบัญชีมาก่อนเลยแต่มักจะนำความรู้ทางบัญชีจากสถาบันการศึกษาหรือประสบการณ์ที่ผ่านมามาจัดทำบัญชีทันทีแต่ไม่มีการวางระบบบัญชีก่อนจัดทำบัญชี บางกิจการระหว่างที่มีการจัดทำบัญชีก็จะทำการวางระบบบัญชีบางส่วนไปเรื่อยๆ ซึ่งทำให้กิจการเหล่านี้ไม่สามารถวางระบบบัญชีให้สอดคล้องกับการวางแผนภาษีได้เลย เนื่องจากระบบบัญชีขาดความสมบูรณ์ความพร้อมในการสนองตอบต่อการวางแผนภาษีให้ถูกต้องรวดเร็วและสมบูรณ์
9. สิทธิประโยชน์ทางภาษีอากร
การวางแผนภาษีเพื่อประโยชน์สูงสุดของธุรกิจ ดังนั้นการเลือกใช้สิทธิประโยชน์ที่กฎหมายกำหนดไว้ ควรจะนำไปใช้ประโยชน์ให้กับกิจการให้มากที่สุด เช่น สิทธิประโยชน์ของกิจการที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนที่ได้รับการยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล ส่วนแบ่งกำไรของกิจการร่วมค่าที่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล หรือเงินปันผลที่กฎหมายยกเว้นภาษีให้ทั้งหมดหรือบางส่วนตามเงื่อนไขที่ได้กำหนดไว้ในประมวลรัษฎากร อนุสัญญาภาษีซ้อนระหว่างประเทศไทยกับต่างประเทศที่ได้ทำข้อตกลงกันไว้ หรือสิทธิประโยชน์ในการส่งเสริมการวิจัยหรือพัฒนา เป็นต้น
10. การฝึกอบรมและสัมมนา
นอกจากจะศึกษาเรื่องต่างๆข้างต้นแล้วผู้วางแผนภาษีควรเข้าฝึกอบรมและสัมมนาของสถาบันฝึกอบรมและสัมมนาต่างๆ เพื่อจะได้แนวความคิด กฎหมายต่างๆหรือปัญหาในการจัดทำบัญชีที่ผู้วางแผนยังไม่ทราบ หรือต้องการทราบเพิ่มเติมหรือต้องการเรียนรู้เทคนิคในการนำไปปรับใช้กับธุรกิจ เนื่องจากวิทยากรแต่ละท่านนำเสนอความรู้ ประสบการณ์หลายแนวทางเพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้เข้าร่วมสัมมนาในอันที่จะนำไปประยุกต์ใช้กับกิจการของตนเอง
11. กฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง
ผู้วางแผนภาษีอากรนอกจากจะศึกษากฎหมายเกี่ยวกับภาษีอากรแล้วยังคงต้องศึกษากฎหมายฉบับอื่นที่เกี่ยวข้องอีกด้วย เช่น ภาษีศุลกากร ภาษีสรรพสามิต กฎหมายเกี่ยวกับหนี้ กฎหมายเช่าซื้อ กฎหมายเพ่งและพาณิชย์ เพื่อจะทำให้การวางแผนภาษีอากรถูกต้องสมบูรณ์ยิ่งขึ้น เพราะบางครั้งกฎหมายแต่ล่ะฉบับจะมีเงื่อนไขเฉพาะด้านซึ่งผู้วางแผนภาษีจะต้องทำการศึกษาปัญหาให้ระเอียดรอบคอบอีกด้วย
12. การตรวจสอบภาษี
การวางแผนภาษีอากรที่ดีจะต้องพร้อมเสมอที่ให้สรรพากรเรียกตรวจสอบภาษีอากร เพราะการวางแผนภาษีไม่ใช้การหลีกเลี่ยงภาษี หรือการหนีภาษี แต่เป็นการเสียภาษีให้ครบถ้วนถูกต้อง ประหยัดภาษี และกิจการได้รับประโยชน์สูงสุดในการเสียภาษีอากร ดังนั้นเมื่อกิจการถูกสรรพากรเรียกตรวจสอบภาษีจะต้องมีความพร้อมในด้านเอกสารหลักฐานทางบัญชีและภาษีอากรตลอดจนบรรดาหลักฐานต่างๆในการเสียภาษีให้ถูกต้องครบถ้วนตลอดเวลา
การวางแผนภาษีอากร
กิจการที่มีความประสงค์ที่จะมีการวางแผนภาษีอาการ จะต้องมีการศึกษาข้อมูลต่างๆก่อนการวางแผนภาษีดังที่ได้กล่าวมาแล้วนั้น เมื่อเริ่มต้นจะทำการวางแผนภาษีอากรจะต้องศึกษาความเป็นไปได้ของการวางแผนภาษี เพราะกิจการอาจจะมีการเลือกการวางแผนภาษีเฉพาะด้าน เช่น วางแผนภาษีเงินได้นิติบุคคล วางแผนภาษีมูลค่าเพิ่ม วางแผนภาษีธุรกิจเฉพาะ ฯลฯ ผู้วางแผนภาษีอาจจะเลือกวางแผนภาษีบางประเภทก่อน แล้วจึงจะวางแผนภาษีประเภทอื่นที่เกี่ยวข้อง อย่างไรก็ดีในการวางแผนภาษีของกิจการ ภาษีอากรที่เกิดขึ้นมักจะมีส่วนที่จะเข้ามาเกี่ยวข้องกันเสมอ ดังนั้นการวางแผนภาษีที่ดีจะต้องคำนึงถึงภาษีทุกตัวที่เกี่ยวข้องกับกิจการ รวมไปถึงระบบบัญชีเพื่อให้รองรับและสอดคล้องกันได้ สิ่งสำคัญในการวางแผนภาษีจะต้องมีการรวบรวมข้อมูลของกิจการแล้วนำไปวิเคราะห์ความต้องการเพื่อประโยชน์ในการนำไปใช้ต่อไป ภาษีอากรที่เป็นส่วนสำคัญและจะต้องใช้ความละเอียดรอบคอบมากก็คือ ภาษีของกรมสรรพากรเนื่องจากจะเกี่ยวข้องกับกิจการโดยตรงแล้วถูกนำมาใช้ค่อนข้างบ่อยภาษีของกรมสรรพากรที่สำคัญก็คือภาษีจากประมวลรัษฎากร ซึ่งมีหลักเกณฑ์และเงื่อนไขค่อนข้างมาก ภาษีอากรจากประมวลรัษฎากรจะแบ่งเป็น
-
- ภาษีทางตรง (Direct Tax)
- เป็นภาษีอากรเรียกเก็บโดยตรงจากผู้มีเงินได้พึงประเมิน ซึ่งจะแบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ
- ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา (Personal Income Tax)
- ภาษีเงินได้นิติบุคคล (Corporated Tncome Tax)
- การเรียกเก็บภาษีทางตรงจากผู้มีเงินได้ กรมสรรพากรจะมีเครื่องมือที่สำคัญในการตรวจสอบว่ามีเงินได้เสียภาษีครบถ้วนถูกต้องหรือไม่ โดยการตรวจสอบจากภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย (Withholding Tax
- เป็นภาษีอากรเรียกเก็บโดยตรงจากผู้มีเงินได้พึงประเมิน ซึ่งจะแบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ
- ภาษีทางอ้อม (Indirect Tax)
- เป็นภาษีอากรที่เรียกเก็บจากผู้บริโภคหรือเป็นภาษีที่เป็นการผลักภาระให้กับผู้ซื้อหรือผู้บริโภคเป็นผู้รับภาระชำระภาษีอากรแทนผู้ขาย ซึ่งจะแบ่งออกเป็น 3 ชนิดด้วยกันคือ
- ภาษีมูลค่าเพิ่ม (Value Add Tax )
- ภาษีธุรกิจเฉพาะ (Specification Business Tax)
- อากรแสตมป์ (Stamp Duty)
- อัตราภาษีอากรของกรมสรรพากร
- ในการเรียกเก็บภาษีของกรมสรรพากรจะมีอัตราเรียกเก็บจากฐานจำนวนเงินหรือคำนวณเป็นปริมาณ หรืออัตราตามมูลค่า หรือราคา แล้วแต่กรณี อัตราภาษีที่ใช้อยู่ในปัจจุบันนี้แบ่งออกเป็น
- อัตราคงที่ (Flat Rate)
- การเรียกเก็บภาษีอากรในส่วนนี้จะเป็นอัตราที่กำหนดคงที่ เช่น
- ภาษีเงินได้นิติบุคคล คำนวณจากกำไรสุทธิในอัตรา 30%
- ภาษีมูลค่าเพิ่ม คำนวณจาก 7% หรือ 0% ของยอดขายสินค้าหรือบริการหรือนำเข้า
- ภาษีเงินได้นิติบุคคลหัก ณ ที่จ่าย ตามมาตรา 3 เตรส เช่น รับจ้างทำของหัก 3% ค่าขนส่งหัก 1% ค่าเช่าหัก 5%
- ภาษีธุรกิจเฉพาะ เช่น ขายอสังหาริมทรัพย์ 3%
- อัตราก้าวหน้า (Progressive Rate)
- การเรียกเก็บภาษีอากรในส่วนนี้จะเป็นการเรียกเก็บตามขั้นของเงินได้พึงประเมินในแต่ละขั้น เช่น ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา เริ่มตั้งแต่อัตรา 5%-3
- ภาษีเงินได้นิติบุคคลของวิสาหกิจขนาดย่อยเสียจากกำไรสุทธิ 1 ล้านบาทแรกเสีย 20% กำไรสุทธิ 1-3 ล้านบาทเสีย 25% และกำไรสุทธิ 3 ล้านบาทขึ้นไปเสีย30%
- การเรียกเก็บภาษีอากรในส่วนนี้จะเป็นอัตราที่กำหนดคงที่ เช่น
- อัตราคงที่ (Flat Rate)
- ในการเรียกเก็บภาษีของกรมสรรพากรจะมีอัตราเรียกเก็บจากฐานจำนวนเงินหรือคำนวณเป็นปริมาณ หรืออัตราตามมูลค่า หรือราคา แล้วแต่กรณี อัตราภาษีที่ใช้อยู่ในปัจจุบันนี้แบ่งออกเป็น
- เป็นภาษีอากรที่เรียกเก็บจากผู้บริโภคหรือเป็นภาษีที่เป็นการผลักภาระให้กับผู้ซื้อหรือผู้บริโภคเป็นผู้รับภาระชำระภาษีอากรแทนผู้ขาย ซึ่งจะแบ่งออกเป็น 3 ชนิดด้วยกันคือ
- อัตราถดถอย (Regressive Rate)
- ภาษีทางตรง (Direct Tax)
การเรียกเก็บภาษีอากรในส่วนนี้จะเป็นการเรียกเก็บจากการได้มาของทรัพย์สิน เช่น ภาษีมรดก ภาษีจากการให้
การชำระภาษีตามประมวลรัษฎากร
ผู้มีเงินได้ไม่ว่าจะเป็นบุคลธรรมดา หรือนิติบุคคล เมื่อต้องการชำระภาษีให้กับกรมสรรพกรสามารถชำระภาษีได้ดังนี้
-
-
-
- การยื่นแบบประเมินตนเอง (Self-Assessment)โดยผู้มีเงินได้หรือผู้มีหน้าที่เสียภาษีเป็นผู้ยื่นแบบตามที่อธิบดีกำหนด เช่น ภ.ง.ด.50 ต้องยื่นภายใน 150 วัน ภ.พ.30 ต้องยื่นภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป
- ถูกเจ้าพนักงานประเมิน (Authoritative Assessment) เมื่อเจ้าพนักงานเข้าไปตรวจสอบภาษีอากรของผู้ประกอบการ หากพบว่าเสียภาษีไม่ครบถ้วน หรือไม่ถูกต้องเจ้าพนักงานประเมินก็มีอำนาจในการประเมินภาษีอากรเพิ่มเติม
- การหักภาษี ณ ที่จ่าย (Withholding Tax) เป็นวิธีการเสียภาษีอากรอีกวิธีหนึ่ง เช่น นิติบุคคลที่จดทะเบียนในต่างประเทศ แต่มีเงินได้ในประเทศไทยจะต้องถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายตามมาตรา 70 ในอัตรา 15% หรือ 10% สำหรับเงินปันผล
- การชำระอากรแสตมป์ (Stamp Duty) เป็นวิธีการเสียภาษีอากรอีกวิธีหนึ่งโดยเป็นดวงตราอากรแสตมป์ หรือเสียเป็นตัวเงิน จากหนังสือหรือตราสารแล้วแต่กรณี
-
-
บทลงโทษตามประมวลรัษฎากร
เมื่อผู้ประกอบการไม่ปฏิบัติตามประมวลรัษฎากร หรือปฏิบัติผิดพลาดคลาดเคลื่อน ประมวลรัษฎากรได้กำหนดบทลงโทษ (Sanction) ไว้ 2 วิธี ด้วยกันคือ
-
-
-
-
- ทางแพ่ง
- คิดเบี้ยปรับ (Penalty)
- คิดเงินเพิ่ม (Surcharge)
- ทางอาญา
- จำคุก (Imprison)
- คิดค่าปรับ (Fine)
- ทางแพ่ง
-
-
-
ลักษณะกฎหมายในประมวลรัษฎากร
กฎหมายภาษีอากรในประมวลรัษฎากรจะแบ่งได้ดังนี้
ลักษณะ 1 ข้อความเบื้องต้น
ลักษณะ 2 ภาษีอากรฝ่ายสรรพากร
หมวด 1 บทเบ็ดเสร็จทั่วไป
หมวด 1 ทวิ คณะกรรมการวินิจฉัยภาษีอากร
หมวด 2 วิธีการเกี่ยวกับภาษีอากรประเมิน
ส่วนที่ 1 การยื่นรายการและการเสียภาษีอากร
ส่วนที่ 2 การอุทธรณ์
ส่วนที่ 3 บทกำหนดโทษ
หมวด 3 ภาษีเงินได้
ส่วน 1 ข้อความทั่วไป
ส่วน 2 การเก็บภาษีจากบุคคลธรรมดา
ส่วน 3 การเก็บภาษีจากบริษัทและห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล
หมวด 4 มูลค่าเพิ่ม
ส่วน 1 ข้อความทั่วไป
ส่วน 2 ความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม
ส่วน 3 ฐานภาษี
ส่วน 4 อัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม
ส่วน 5 การยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม
ส่วน 6 ผู้มีหน้าที่เสียภาษีและการคำนวณภาษี
ส่วน 7 การยื่นแบบและการชำระภาษี
ส่วน 8 เครดิตภาษีและการขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่ม
ส่วน 9 การจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
ส่วน 10 ใบกำกับภาษี ใบเพิ่มหนี้ ใบลดหนี้
ส่วน 11 การจัดทำรายงานและการเก็บรักษาหลักฐานและเอกสาร
ส่วน 12 อำนาจเจ้าพนักงานประเมิน
ส่วน 13 เบี้ยปรับ เงินเพิ่ม
ส่วน 14 บทกำหนดโทษ
หมวด 5 ภาษีธุรกิจเฉพาะ
หมวด 6 อากรแสตมป์
ส่วน 1 การเสียอากร
ส่วน 2 เบ็ดเตล็ด
ส่วน 3 บทลงโทษ