การประกอบกิจการของผู้ประกอบการที่ขายสินค้าหรือให้บริการในแต่ละปีกิจการมีรายรับตั้งแต่ 1,800,000 บาทขึ้นไป ประมวลรัษฎากรกำหนดให้ต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ซึ่งหน้าที่ของผู้ประกอบการจดทะเบียนมีหน้าที่ต้องออกใบกำกับภาษีทุกครั้งที่จุดความรับผิดในการเสียภาษีเกิดขึ้น
กรณีการขายสินค้า
ผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มมีหน้าที่ต้องจัดทำใบกำกับภาษี พร้อมทั้งส่งมอบให้แก่ผู้ซื้อสินค้าในทันทีที่มีการส่งมอบสินค้า หรือเมื่อได้มีการโอนกรรมสิทธิ์ ในสินค้าให้กับผู้ซื้อก่อนการส่งมอบสินค้า หรือเมื่อมีการได้รับชำระราคาสินค้าก่อนการส่งมอบสินค้าให้แก่ผู้ซื้อ แล้วแต่กรณี
กรณีการให้บริการ
ผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มมีหน้าที่ต้องจัดทำใบกำกับภาษี พร้อมทั้งส่งมอบให้แก่ผู้รับบริการในทันทีที่ได้รับชำระค่าบริการ หรือเมื่อได้มีการใช้บริการนั้นไม่ว่าโดยตนเองหรือบุคคลอื่นก่อนได้รับชำระค่าบริการ แล้วแต่กรณี
นอกจากนี้ ผู้ประกอบการจดทะเบียนจะต้องจัดทำสำเนาใบกำกับภาษี และเก็บรักษาสำเนาใบกำกับภาษี ณ.สถานประกอบการ หรือสถานที่อธิบดีกำหนดเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 5 ปี
ใบกำกับภาษีแบบเต็มรูปแบบ โดยสรุปต้องมีรายการอย่างน้อยดังต่อไปนี้
- คำว่า “ใบกำกับภาษี” ในที่ที่เห็นได้เด่นชัด
- ชื่อ ที่อยู่ และเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร ของผู้ประกอบการจดทะเบียนที่ออกใบกำกับภาษี และในกรณีที่ตัวแทนเป็นผู้ออกใบกำกับภาษี ในนามของผู้ประกอบการจดทะเบียนตามมาตรา 86 วรรคสี่ หรือ มาตรา 86/2 หรือผู้ทอดตลาดเป็นผู้ออกใบกำกับภาษีในนามของผู้ประกอบการจดทะเบียนตามมาตรา 86/3 ให้ระบุชื่อ ที่อยู่ และเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรของตัวแทนนั้นด้วย
- ชื่อ ที่อยู่ ของผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการ
- หมายเลขลำดับของใบกำกับภาษี และหมายเลขลำดับของเล่ม ถ้ามี
- ชื่อ ชนิด ประเภท ปริมาณ และมูลค่า ของสินค้าหรือของบริการ
- จำนวนภาษีมูลค่าเพิ่มที่คำนวณจากมูลค่าของสินค้าหรือของบริการ โดยให้แยกออกจากมูลค่าของสินค้าและหรือของบริการให้ขัดแจ้ง
- วัน เดือน ปี ที่ออกใบกำกับภาษี
- ข้อความอื่นที่อธิบดีกำหนด
ขยายความ “ใบกำกับภาษีเต็มรูปแบบ”
ผู้ประกอบการจดทะเบียนโดยทั่วไป มีหน้าที่ต้องออกใบกำกับภาษีแบบเต็มรูปแบบให้แก่ผู้ซื้อสินค้าหรือบริการ (เว้นแต่ ผู้ประกอบกิจการค้าปลีกซึ่งมีสิทธิออกใบกำกับภาษีอย่างย่อ) โดยใบกำกับภาษีเต็มรูปแบบต้องมีรายการอย่างน้อยดังต่อไปนี้
- คำว่า “ใบกำกับภาษี” ในที่ที่เห็นได้เด่นชัด คำว่า “ใบกำกับภาษี” เป็นข้อความที่กฎหมายบังคับให้ต้องระบุไว้ในเอกสารซึ่งมีความมุ่งหมายให้เป็นใบกำกับภาษี นอกจากนี้ ในกรณี ผู้ประกอบการจดทะเบียนประสงค์จะจัดทำใบกำกับภาษีแบบเต็มรูปรวมกับเอกสารทางการค้าอื่น เช่นใบเสร็จรับเงิน ใบส่งของ ใบแจ้งหนี้ ซึ่งมีจำนวนหลายฉบับอยู่ในชุดเดียวกัน และใบกำกับภาษีมีใช่เอกสารฉบับแรกของเอกสารดังกล่าว ให้ปฎิบัติดังนี้
-
- (1)ในใบกำกับภาษีและสำเนาใบกำกับภาษีของเอกสารชุดดังกล่าวจะต้องมีข้อความว่า “เอกสารออกเป็นชุด” ไว้ด้วย
- (2)ในสำเนาของใบกำกับภาษี จะต้องมีข้อความว่า “สำเนาใบกำกับภาษี” ไว้ด้วย ข้อความว่า “เอกสารออกเป็นชุด” และ “สำเนาใบกำกับภาษี” ตามวรรคหนึ่ง จะต้องตีพิมพ์หรือจัดทำขึ้นด้วยระบบคอมพิวเตอร์ในกรณีจัดทำใบกำกับภาษีขึ้นด้วยระบบคอมพิวเตอร์ ทั้งฉบับ จะประทับด้วยตรายาง เขียนด้วยหมึก พิมพ์ดีด หรือกระทำให้ปรากฏขึ้นด้วยวิธีการอื่นในลักษณะทำนองเดียวกันไม่ได้
- รายการคำว่า “ชื่อ ที่อยู่ และเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรของผู้ประกอบการจดทะเบียนที่ออกใบกำกับภาษี”
-
- (ก)ชื่อของผู้ออกใบกำกับภาษี หมายถึง ชื่อผู้ประกอบการตามที่ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม หรือชื่อสถานประกอบการตามที่ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม หรือชื่อการค้าของสถานประกอบการตามที่ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ชื่อของผู้ออกใบกำกับภาษีจะใช้ชื่อย่อไม่ได้ กรณีชื่อผู้ออกใบกำกับภาษี หรือ ผู้รับใบกำกับภาษี ที่มีสถานะเป็นนิติบุคคล คำที่บอกสถานะ สามารถใช้คำย่อแทนได้ ดังนี้
- บริษัท จำกัด ใช้คำย่อว่า บ. … จก. หรือ บจ.
- บริษัท (มหาชน) จำกัด ใช้คำย่อว่า บมจ. ….
- ห้างหุ้นส่วนจำกัด ใช้คำย่อว่า หจก. ….
- ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล ใช้คำย่อว่า หสน. ….
- (ข)ที่อยู่ของผู้ออกใบกำกับภาษี หมายถึง ที่ตั้งของสถานประกอบการตามที่ได้จดทะเบียน ภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.20) ไว้
- (ก)ชื่อของผู้ออกใบกำกับภาษี หมายถึง ชื่อผู้ประกอบการตามที่ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม หรือชื่อสถานประกอบการตามที่ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม หรือชื่อการค้าของสถานประกอบการตามที่ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ชื่อของผู้ออกใบกำกับภาษีจะใช้ชื่อย่อไม่ได้ กรณีชื่อผู้ออกใบกำกับภาษี หรือ ผู้รับใบกำกับภาษี ที่มีสถานะเป็นนิติบุคคล คำที่บอกสถานะ สามารถใช้คำย่อแทนได้ ดังนี้
กรมสรรพากรได้มีประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม(ฉบับที่ 199)ลงวันที่ 26ธันวาคม 2556 กำหนดให้ผู้ประกอบการที่ได้จัดทำใบกำกับภาษีแบบเต็มรูป จะต้องระบุข้อความรายการเกี่ยวกับสถานประกอบการ ซึ่งเป็นสถานที่ขายสินค้าหรือให้บริการไว้ในใบกำกับภาษี ดังนี้
- กรณีสถานประกอบการตามที่ได้จดทะเบียนไว้ในทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.20) ของผู้ขาย
สินค้าหรือให้บริการเป็นสำนักงานใหญ่ ให้ระบุข้อความคำว่า “สำนักงานใหญ่” หรือระบุคำย่อที่แสดงได้ว่าเป็นสำนักงานใหญ่ เช่น “สนญ.” “HO” “HQ” เป็นต้น หรือระบุเป็นตัวเลขศูนย์จำนวนห้าหลัก(00000) เพื่อแสดงว่าตัวศูนย์จำนวนห้าหลัก (00000) เป็นรหัสของสำนักงานใหญ่ ไว้ในใบกำกับภาษีดังกล่าวด้วย
- กรณีสถานประกอบการตามที่ได้จดทะเบียนไว้ ในใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม(ภ.พ.20) ของ
ผู้ขายสินค้าหรือให้บริการเป็นสาขา ให้ระบุข้อความคำว่า “สาขาที่…” โดยเลขที่ของสาขาให้ระบุเลขที่ตามที่ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มไว้ เช่น “สาขาที่…” “Branch No….” “br.no….” เป็นต้น หรือระบุเป็นตัวเลขจำนวนห้าหลักเพื่อแสดงว่าเป็นรหัสของ “สาขาที่….” เช่น 00001 ไว้ในใบกำกับภาษีดังกล่าวด้วย
ข้อสังเกต
- ข้อความตาม (๑)(๒) จะตีพิมพ์ หรือจัดทำขึ้นด้วยระบบคอมพิวเตอร์ ประทับด้วยตรายาง เขียนด้วยหมึก พิมพ์ดีด ก็ได้ ทั้งนี้ สำหรับการจัดทำใบกำกับภาษีแบบเต็มรูปแบบที่ได้จัดทำตั้งแต่วันที่ 1มกราคม 2558 เป็นต้นไป (ค) เลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรของผู้ออกใบกำกับภาษี
ตั้งแต่วันที่ 1กุมภาพันธ์ 2555 เป็นต้นไป กรมสรรพากรได้กำหนดให้ผู้เสียภาษีอากรทุกประเภท ทั้งที่เป็นบุคคลธรรมดา คณะบุคคล บริษัท และห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลใช้เลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร 13 หลัก แทนเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร 10 หลัก ที่ใช้อยู่เดิมในการยื่นแบบแสดงรายการ การชำระภาษี การหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย การติดต่อราชการกับกรมสรรพากร รวมทั้งการจัดเอกสารต่างๆที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ การจัดทำใบกำกับภาษี การจัดทำใบเสร็จรับเงิน เป็นต้น โดยการใช้เลขประจำตัวผู้เสียภาษี 13 หลักนั้น ได้แบ่งการใช้ออกตามประเภทของผู้เสียภาษีอากร ดังนี้
(1) ผู้เสียภาษีประเภทบุคคลธรรมดา ให้ใช้เลขประจำตัวประชาชน 13หลัก ที่กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย ออกให้ เป็นเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร
(2) ผู้เสียภาษีประเภทนิติบุคคลไทย หรือนิติบุคคลต่างประเทศ ที่ต้องจดทะเบียนหรือขออนุญาตกับกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ ให้ใช้เลขทะเบียนนิติบุคคลที่กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ ออกให้ เป็นเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร
(3) ผู้เสียภาษีที่ไม่เข้าหลักเกณฑ์ตามข้อ (1) และ ข้อ(2) ให้ใช้เลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร 13หลัก ที่กรมสรรพากรออกให้
๓. รายการ “ชื่อ ที่อยู่ ของผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการ”
(ก) “ชื่อ” ของผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการ หมายถึง ชื่อผู้ประกอบการตามที่ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม หรือชื่อสถานประกอบการ หรือชื่อการค้าของสถานประกอบการตามที่ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม หรณีบุคคลธรรมดาหมายความรวมถึง นามสกุลด้วย
(ข) “ที่อยู่ของผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการ” หมายถึง ที่ตั้งของสถานประกอบการตามที่ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มไว้
ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2558 เป็นต้นไป กรมสรรพากรได้มีกระกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม(ฉบับที่199)ลงวันที่ 26 ธันวาคม 2556 กำหนดให้ผู้ประกอบการจดทะเบียนที่ได้จัดทำใบกำกับภาษีแบบเต็มรูป จะต้องระบุเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรของผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการซึ่งเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนไว้ในใบกำกับภาษีรวมทั้งจะต้องระบุข้อความรายการเกี่ยวกับสถานประกอบการของผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการตามที่ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มไว้ในใบกำกับภาษี ดังนี้
- กรณีสถานประกอบการตามที่ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มของผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการเป็น
สำนักงานใหญ่ ให้ระบุข้อความคำว่า “สำนักงานใหญ่” หรือระบุคำย่อที่แสดงได้ว่าเป็นสำนักงานใหญ่ เช่น “สนญ.” “HO” “HQ” เป็นต้นหรือระบุเป็นตัวเลขศูนย์จำนวนห้าหลัก (00000) เพื่อแสดงว่าตัวเลขศูนย์ห้าหลัก (00000) เป็นรหัสของสำนักงานใหญ่ไว้ในใบกำกับภาษีดังกล่าวด้วย
- กรณีสถานประกอบการตามที่ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มของผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการเป็น
สาขา ให้ระบุข้อความคำว่า “สาขาที่…” โดยเลขที่ของสาขาให้ระบุเลขที่สาขาตามที่ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม เช่น สาขาที่1 สาขาที่01 เป็นต้น หรือระบุเป็นตัวเลขจำนวนห้าหลักตามที่ปรากฎในใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มเพื่อแสดงว่าเป็นรหัสของ “สาขาที่….” เช่น 00001 ไว้ในใบกำกับภาษีดังกล่าวด้วย
ข้อสังเกต
โดยข้อความตามข้อ (1) ข้อ (2) จะตีพิมพ์ หรือจัดทำขึ้นด้วยระบบคอมพิวเตอร์ ประทับด้วยตรายาง เขียนด้วยหมึก พิมพ์ดีด หรือทำให้ปรากฎขึ้นด้วยวิธีการอื่นใดในลักษณะทำนองเดียวกันก็ได้
หมายเหตุ
เนื่องจากผู้ขายสินค้าหรือผู้ให้บริการซึ่งเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มและผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการบางรายยังมีความเข้าใจคลาดเคลื่อนในทางปฏิบัติ เกี่ยวกับการระบุเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรของผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการในใบกำกับภาษีแบบเต็มรูปตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม(ฉบับที่199)ลงวันที่ 26 ธันวาคม 2556 กรมสรรพากรจึงได้ออกคำชี้แจงเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวนี้ ดังนี้
- ผู้ขายสินค้าหรือผู้ให้บริการซึ่งเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มต้องระบุเลข
ประจำตัวผู้เสียภาษีอากรของผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการไว้ในใบกำกับภาษีแบบเต็มรูป เฉพาะกรณีผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มเท่านั้น ถ้าผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการไม่ได้เป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ผู้ขายสินค้าหรือผู้ให้บริการก็ไม่จำเป็นต้องระบุเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรของผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการนั้นไว้ในใบกำกับภาษีแต่อย่างใด
กรณีผู้ขายสินค้าหรือผู้ให้บริการซึ่งเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียน ได้แจ้งให้ลูกค้าซึ่งเป็นผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการแจ้งรายการเกี่ยวกับเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร โดยวิธีปิดเป็นประกาศ หรือแจ้งให้ลูกค้าทราบเป็นการทั่วไปหรือรายบุคคล หรือแจ้งโดยวิธีการอื่นใดแล้ว หากผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการซึ่งเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มไม่ได้แจ้งรายการเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรให้ทราบหรือแจ้งว่าไม่ได้เป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม และผู้ขายสินค้าหรือผู้ให้บริการได้ออกใบกำกับภาษีโดยไม่ระบุเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรของผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการไว้ในใบกำกับภาษีแบบเต็มรูปถือได้ว่าผู้ขายสินค้าหรือผู้ให้บริการมิได้มีเจตนาที่ออกใบกำกับภาษีแบบเต็มรูปที่มีรายการไม่ครบถ้วนตามกฎหมายแต่อย่างใด
- ถ้าผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการมิได้แจ้งรายการเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรและรายการ
เกี่ยวกับสถานประกอบการดังกล่าวและได้รับใบกำกับภาษีแบบเต็มรูปแบบซึ่งไม่มีรายการดังกล่าวนั้น ภาษีซื้อตามใบกำกับภาษีนั้นก็จะเป็นภาษีซื้อต้องห้าม ไม่สามารถนำไปใช้ในการคำนวนภาษีมูลค่าเพิ่มได้ ตามมาตรา82/5(2) แห่งประมวลรัษฎากร และถ้าการที่ไม่ได้แจ้งรายการดังกล่าวนั้นมีเจตนาที่จะหลีกเลี่ยงการเสียภาษีอากรก็จะต้องรับผิดตามกฎหมายต่อไป
- กรณีผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการไม่ได้เป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มก็ไม่ต้องแจ้ง
เลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรของตนให้แก่ผู้ขายสินค้าหรือผู้ให้บริการแต่อย่างใด
๔.รายการ “หมายเลขลำดับของใบกำกับภาษี และหมายเลขของเล่ม ถ้ามี”
ใบกำกับภาษีที่ไม่มีหมายเลขลำดับไม่ให้นำไปคำนวนเป็นภาษีซื้อ และในกรณีนี้ผู้ออกใบกำกับภาษีมีความผิด โดยมีรายการในส่วนที่เป็นสาระสำคัญไม่ครบถ้วน ปรับไม่เกิน 2,000 บาท
๕.รายการ “ชื่อ ชนิด ประเภท ปริมาณ และมูลค่าของสินค้าหรือของบริการ”
ชื่อ ชนิด ประเภท ของสินค้าหรือของบริการให้ระบุเฉพาะชื่อ ชนิด ประเภทของสินค้าหรือของบริการที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในใบกำกับภาษี เว้นแต่ในกรณีที่มีความจำเป็นต้องระบุชื่อ ชนิดประเภทของสินค้า หรือของบริการที่ไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในใบกำกับภาษีด้วย ให้กระทำได้โดยต้องจัดให้มีเครื่องหมายหรือแยกรายการแสดงให้เห็นชัดเจนว่าเป็นสินค้าหรือบริการที่ไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม
๖.รายการ “จำนวนภาษีมูลค่าเพิ่มที่คำนวนจากมูลค่าของสินค้าหรือของบริการโดยแยกออกจากมูลค่าขของสินค้าหรือของบริการให้ชัดแจ้ง”
๗.รายการ “วัน เดือน ปี ที่ออกใบกำกับภาษี”
วัน เดือน ปี ที่ออกใบกำกับภาษี เป็นรายการที่เป็นสาระสำคัญที่ประมวลรัษฎากรกำหนดให้ต้องมีในใบกำกับภาษี และเป็นสิ่งที่แสดงให้เห็นถึงวันที่ความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเกิดขึ้นคือ เป็นวันที่ได้มีการส่งมอบสินค้า โอนกรรมสิทธิ์ในสินค้าให้กับผู้ซื้อ ได้มีการใช้บริการนั้นไม่ว่าโดยตนเองหรือบุคคลอื่น ได้รับชำระค่าสินค้าหรือบริการ หรือวันที่ออกใบกำกับภาษี
วัน เดือน ปี ที่ออกใบกำกับภาษี จะใช้ตัวเลขแทนการระบุเดือนก็ได้ และใช้พุทธศักราช (พ.ศ.) หรือคริสต์ศักราช (ค.ศ.) ก็ได้
ในกรณีที่ผู้ประกอบการจดทะเบียนประสงค์จะจัดทำใบกำกับภาษีแบบเต็มรูปแบบรวมกับเอกสารทางการค้าอื่น เช่น ใบเสร็จรับเงิน ใบส่งของ ใบแจ้งหนี้ ซึ่งมีจำนวนหลายฉบับอยู่ในชุดเดียว และ
ใบกำกับภาษีมิใช่เอกสารฉบับแรกของเอกสารดังกล่าวให้ปฏิบัติดังนี้
- ในใบกำกับภาษีและสำเนาใบกำกับภาษีของเอกสารชุดดังกล่าว จะต้องมีข้อความว่า “เอกสารออกเป็นชุด” ไว้ด้วย
- ในสำเนาของใบกำกับภาษี จะต้องมีคำว่า “สำเนาใบกำกับภาษี” ไว้ด้วย
ข้อความคำว่า “เอกสารออกเป็นชุด” และ “สำเนาใบกำกับภาษี” จะต้องตีพิมพ์หรือจัดทำขึ้นด้วยระบบคอมพิวเตอร์ ในกรณีจัดทำใบกำกับภาษีขึ้นด้วยระบบคอมพิวเตอร์ทั้งฉบับ จะประทับด้วยตรายาง เขียนด้วยหมึก พิมพ์ดีด หรือกระทำให้ปรากฎขึ้นด้วยวิธีอื่นใดในลักษณะทำนองเดียวกันไม่ได้
ในกรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนมีสถานประกอบการหลายแห่ง และสถานประกอบการที่มิใช่สำนักงานใหญ่ได้นำใบกำกับภาษีของสถานประกอบการที่เป็นสำนักงานใหญ่ส่งมอบให้แก่ผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการทุกครั้งที่มีการขายสินค้าหรือการให้บริการ จะต้องมีข้อความคำว่า “สาขาที่ออกใบกำกับภาษีคือ….” ไว้ในใบกำกับดภาษีดังกล่าวโดยข้อความดังกล่าวจะตีพิมพ์ จัดทำด้วยระบบคอมพวิเตอร์ ประทับด้วยตรายาง เขียนด้วยหมึก พิมพ์ดีด หรือทำให้ปรากฎ ขึ้นด้วยวิธีการอื่นใดในลักษณะทำนองเดียวกันก็ได้
ในกรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนซึ่งประกอบกิจการสถานบริการน้ำมันได้ขายน้ำมันเชื้อเพลิงหรือได้ขายสินค้าหรือให้บริการที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับรถยนต์ที่ต้องจดทะเบียนตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ จะต้องระบุเลขทะเบียนรถยนต์ไวในใบกำกับภาษีเต็มรูปด้วย โดยข้อความดังกล่าวจะตีพิมพ์ จัดทำขึ้นด้วยระบบคอมพิวเตอร์ ประทับด้วยตรายาง เขียนด้วยหมึก พิมพ์ดีด หรือทำให้ปรากฎขึ้นด้วนวิธีการอื่นใดในลักษณะทำนองเดียวกันก็ได้
วิธีการจัดทำรายการของใบกำกับภาษีแบบเต็มรูป
- รายการในใบกำกับภาษีให้ทำเป็นภาษาไทย หรือจัดทำเป็นภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษในฉบับเดียวกันก็ได้ ถ้าทำเป็นภาษาต่างประเทศอื่นต้องขออนุมัติต่ออธิบดีกรมสรรพากร
- หน่วยเงินตราในใบกำกับภาษีต้องเป็นหน่วยเงินตราไทย และใช้ตัวเลขไทยหรืออารบิค ถ้าจะจัดทำเป็นหน่วยเงินตราต่างประเทศ ต้องขออนุมัติต่ออธิบดีกรมสรรพากร
- ใบกำกับภาษีอาจออกรวมกันสำหรับการขายสินค้าหรือการให้บริการหลายอย่างก็ได้
- ใบกำกับแบบเต็มรูป ต้องมีรายการครบถ้วน
- รายการในใบกำกับภาษีแบบเต็มรูป จะต้องไม่มีการแก้ไขเปลี่ยนแปลง ไม่ว่าจะป็นการขีด ฆ่า ขูด ลบ โดยยางลบ หรือใช้ยาหมึก ตก แต่ง ต่อ เติม หากมีการแก้ไขเปลี่ยนแปลง ภาษีซื้อตามใบกำกับภาษีดังกล่าวถือเป็นภาษีซื้อต้องห้าม
ติดตามเรื่อง หลักเกณฑ์การจัดทำใบกำกับภาษีเต็มรูป (ตอนสอง) ได้เร็วๆนี้ค่ะ
ขอบคุณข้อมูลจากกรมสรรพากร และหนังสือ ถอดรหัสใบกำกับภาษี ของธรรมนิติ